สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 มี.ค. 66
ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.จันทบุรี (68 มม.) จ.สระบุรี (64 มม.) และ จ.นครสวรรค์ (57 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 28,629 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 22,513 ล้าน ลบ.ม. (47%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการสูบเก็บตัวอย่างน้ำบาดาล
จากสถานีสังเกตการณ์น้ำบาดาลและเก็บตัวอย่างน้ำบาดาลอุปโภค-บริโภคบริเวณพื้นที่ ในโครงการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบาดาลในพื้นที่ทิ้งเทศบาลตำบลปากน้ำฉวาง ต.ปากน้ำฉวาง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ดังนี้
1. พื้นที่ทิ้งขยะเทศบาลตำบลปากน้ำฉวาง จุดเจาะที่ 1
2. พื้นที่ทิ้งขยะเทศบาลตำบลปากน้ำฉวาง จุดเจาะที่ 2
3. โรงเรียนบ้านชุมชนสี่แยก
4. โรงเรียนบ้านทุ่งกรวด
เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบาดาลสำหรับอุปโภค-บริโภค ให้กับประชาชน
สทนช. ร่วมกับจังหวัดนครสวรรค์ และหน่วยงานในพื้นที่ขับเคลื่อนโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วนในพื้นที่เจ้าพระยาใหญ่ เร่งรัดโครงการตามแผนปี 66 ต้องเสร็จก่อนฝนนี้
วานนี้ (28 มี.ค. 66) ดร. สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช.เป็นประธานการประชุมเพื่อขับเคลื่อนโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วนในพื้นที่เจ้าพระยาใหญ่ โดยมีผู้บริหาร สทนช. จังหวัดนครสวรรค์ กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 501 ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์
ที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบกลาง ประจำปี 2566 จำนวน 84 รายการ เร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนช่วงฤดูฝนนี้ สำหรับการดำเนินงานในปี 2567 – 2568 ขอให้หน่วยงานทบทวนแผนงานให้มีความชัดเจน ครบถ้วน โดยจะมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบแผนปฏิบัติการและเตรียมความพร้อมก่อนถึงกำหนดเวลาดำเนินการจริงต่อไป นอกจากนี้ จะมีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการตามแผนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์โดยเร็วด้วย
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 29 มี.ค. 2566 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ร่วมกับการประปานครหลวง (กปน.) ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของคณะทำงานเฉพาะกิจงานสำรวจและบำรุงท่อส่งน้ำ ขนาด 3,400 มม. ณ กปภ.สาขารังสิต สาขาคลองหลวงและสาขาธัญบุรี และเน้นย้ำให้มีการทำงานแบบเชิงรุกและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และได้ส่งจ่ายน้ำประปาเข้าสู่ระบบเส้นท่อในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีจนเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
2. สภาพอากาศ
ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่งสำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 28,628 ล้าน ลบ.ม. (49%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 22,454 ล้าน ลบ.ม. (47%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,040 ล้าน ลบ.ม. (60%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,134 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 8,434 ล้าน ลบ.ม. (46%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 22,357 ล้าน ลบ.ม. (47%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 15,957 ล้าน ลบ.ม. (73%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 6,603 ล้าน ลบ.ม. (77%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วานนี้ (28 มี.ค. 66) ด.ร. สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมเพื่อขับเคลื่อนโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วนในพื้นที่เจ้าพระยาใหญ่ โดยมีผู้บริหาร สทนช. จังหวัดนครสวรรค์ กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม 501 ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบกลาง ประจำปี 2566 เร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนช่วงฤดูฝนนี้ สำหรับการดำเนินงานในปี 2567 – 2568 และจะมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบแผนปฏิบัติการและเตรียมความพร้อมก่อนถึงกำหนดเวลาดำเนินการจริงต่อไป นอกจากนี้ จะมีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการตามแผนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์โดยเร็ว