สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 มี.ค. 66

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา จ.ระนอง (33 มม.) จ.นครราชสีมา (26 มม.) และ จ.เชียงใหม่(14 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 29,126 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 22,880 ล้าน ลบ.ม. (48%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมเจ้าท่า ดำเนินการขุดลอกแม่น้ำลี้ ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังการขุดลอก เพิ่มพื้นที่หน้าตัดของร่องน้ำ รองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก การอุปโภค-บริโภค และการเกษตร ลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร การกัดเซาะตลิ่ง โดยมีประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขุดลอก ประมาณ 400 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ 500 ไร่
กอนช. ติดตามสถานการณ์ในแม่น้ำโขง คาดการณ์ระดับน้ำจะลดลง 0.5 -0.8 ม.
กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขงบริเวณสถานีวัดน้ำจิ่งหง (จีน) พบว่ามีปริมาณน้ำไหลผ่านลดลงจากเมื่อวาน 547 ลบ.ม./วินาที (ระดับน้ำลดลง 0.83 ม.) จากเดิมมีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,440 ลบ.ม./วินาที และวันนี้ไหลผ่านลดลงเป็น 893 ลบ.ม./วินาที ผลการวิเคราะห์
จากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำดังกล่าว คาดว่าแม่น้ำโขงฝั่งไทยอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ ดังนี้
บริเวณสถานีวัดน้ำเชียงแสน จ.เชียงราย คาดว่าระดับน้ำลดลงทันทีประมาณ 0.6 – 0.8 ม. ในช่วงวันที่ 27 – 28 มีนาคม 256
บริเวณสถานีวัดน้ำเชียงคาน จ.เลย คาดว่าระดับน้ำลดลงประมาณ 0.55 – 0.75 ม. ในช่วงวันที่ 28 – 29 มีนาคม 2566
บริเวณสถานีวัดน้ำหนองคาย จ.หนองคาย ถึง สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี คาดว่าระดับน้ำลดลงประมาณ 0.55 – 0.75 ม. ในช่วงวันที่ 30 มีนาคม – 2 เมษายน 2566
กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงอย่างใกล้ชิด รวมทั้งแจ้งประชาชนในพื้นที่ให้รับทราบและเข้าใจต่อสถานการณ์ ดังกล่าว
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 26 มี.ค. 2566 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
1.1 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นำกำลังพลจิตอาสาพระราชทาน นพค.24 สนภ.2 นทพ. จำนวน 4 นาย กำลังพลชุดเคลื่อนที่เร็ว จำนวน 4 นาย รถประปาสนามเคลื่อนที่ จำนวน 1 คัน รถบรรทุกน้ำขนาด 9,000 ลิตร จำนวน 1 คัน และ รถบรรทุกขนาดเล็ก จำนวน 1 คัน ดำเนินการแจกจ่ายน้ำบริโภค จำนวน 6,000 ลิตร และน้ำอุปโภค จำนวน 2 เที่ยว ปริมาณน้ำ 18,000 ลิตร ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง ณ บ้านดงยาง ตำบลน้ำเที่ยง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
1.2 กรมทางหลวง ดำเนินการจัดทำโครงการ “กรมทางหลวง – การประปาส่วนภูมิภาค รวมใจต้านภัยแล้ง” ปีที่ 18 โดยการประปาส่วนภูมิภาคได้ให้การสนับสนุนน้ำประปา เพื่อแจกจ่ายน้ำประปาช่วยเหลือผู้ประสบภัยและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผ่านหน่วยงานในสังกัด โดยได้จัดเตรียมรถบรรทุกน้ำ อุปกรณ์ และบุคลากร เข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนทุกพื้นที่อย่างทันท่วงที พร้อมสนับสนุนทุกหน่วยงานในพื้นที่ในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 เป็นต้นไป และตามการร้องขอของประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
2. สภาพอากาศ
ในช่วงวันที่ 26 – 29 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 29,126 ล้าน ลบ.ม. (50%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 22,882 ล้าน ลบ.ม. (48%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,109 ล้าน ลบ.ม. (62%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,135 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 8,598 ล้าน ลบ.ม. (47%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 22,783 ล้าน ลบ.ม. (48%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 15,550 ล้าน ลบ.ม. (71%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 6,450 ล้าน ลบ.ม. (75%)