สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 มี.ค. 66
ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีฝนบางพื้นที่ ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้น
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (117 มม.) จ.สมุทรปราการ (56 มม.) และ จ.พะเยา (38 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 31,014 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 24,511 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมเจ้าท่า ขุดลอกแม่น้ำท่าจีน ต.หินมูล อ.บางเลน จ.นครปฐม รวมระยะทางที่ทำการขุดลอกไปแล้ว 136 ม. คิดเป็นผลงานร้อยละ 11.48 โดยผลที่ได้จากการขุดลอกเป็นการขุดลอกเพื่อบำรุงรักษาร่องน้ำให้มีความลึกและกว้างมากขึ้น เนื่องจากสภาพร่องน้ำเดิมมีผักบุ้ง ผักตบชวาและวัชพืชอื่นๆ เกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งทำให้ตะกอนสะสมอยู่ด้านใต้เป็นจำนวนมากและช่วยเพิ่มอัตราการไหลของน้ำ ลดปัญหาอุทุกภัยซึ่งจะเกิดความเสียหายบ้านเรือนทรัพย์สิน ช่วยเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ และช่วยการระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ล่องใต้ ลงพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนองสั่งเร่งสำรวจพื้นที่เสี่ยงท่วม-แล้งซ้ำซากเตรียมพร้อมแผนรับมือ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ตรวจราชการเพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำและความก้าวหน้าโครงการด้านทรัพยากรน้ำที่สำคัญในพื้นที่ภาคใต้ ณ จ.สุราษฎร์ธานี ชุมพร และระนอง พร้อมทั้งได้มอบหมายหน่วยงาน ดังนี้
จังหวัด และ สทนช. บูรณาการหน่วยงานในการเตรียมแผนการรับมือสถานการณ์น้ำ ทั้งน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำ พร้อมกำชับให้ดำเนินการตาม 10 มาตรการรับมือฤดูแล้งอย่างเคร่งครัด
ทุกหน่วยงาน ดำเนินการจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ จัดเตรียมแหล่งน้ำสำรองให้เพียงต่อความต้องการของประชาชน พร้อมรองรับกิจกรรมการใช้น้ำในอนาคต รวมทั้งเร่งสำรวจพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และให้รายงานผลต่อคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดและคณะกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อเตรียมแผนรับสถานการณ์อุทกภัย ภัยแล้งและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะตลิ่ง รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ พร้อมเดินหน้าสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้รับทราบถึงสถานการณ์น้ำ มาตรการรับมือทั้งอุทกภัยและภัยแล้ง รวมทั้งแนวทางการให้
ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องด้วย
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 14 มี.ค. 2566 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ปฏิบัติการฝนหลวง โดยมีการบินปฏิบัติการ 3 หน่วย ในพื้นที่จังหวัดตาก (อ.แม่สอด อ.พบพระ) อุตรดิตถ์(อ.น้ำปาด) พิษณุโลก(อ.ชาติตระการ) จันทบุรี(อ.ขลุง อ.เมืองจันทบุรี) และตราด(อ.เขาสมิง อ.บ่อไร่)
2. สภาพอากาศ
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนผ่านภาคเหนือเข้าปกคลุมประเทศลาวตอนบนแล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเป็นบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ทั้งนี้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลงและมีอากาศเย็นตอนเช้า สำหรับลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 31,014 ล้าน ลบ.ม. (54%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 24,514 ล้าน ลบ.ม. (51%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,137 ล้าน ลบ.ม. (66%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,137 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 9,208 ล้าน ลบ.ม. (51%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 24,392 ล้าน ลบ.ม. (51%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 13,920 ล้าน ลบ.ม. (64%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 5,810 ล้าน ลบ.ม. (68%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ตรวจราชการเพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำและความก้าวหน้าโครงการด้านทรัพยากรน้ำที่สำคัญในพื้นที่ภาคใต้ ณ จ.สุราษฎร์ธานี ชุมพร และระนอง โดยได้มอบหมายให้ จังหวัด และ สทนช. บูรณาการหน่วยงานในการเตรียมแผนการรับมือสถานการณ์น้ำ ทั้งน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำ และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ จัดเตรียมแหล่งน้ำสำรองให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน พร้อมรองรับกิจกรรมการใช้น้ำในอนาคต รวมทั้งเร่งสำรวจพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และให้รายงานผลต่อคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดและคณะกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อเตรียมแผนรับสถานการณ์อุทกภัย ภัยแล้งและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะตลิ่ง รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ พร้อมเดินหน้าสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้รับทราบถึงสถานการณ์น้ำ มาตรการรับมือทั้งอุทกภัยและภัยแล้ง รวมทั้งแนวทางการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องด้วย