สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ก.พ. 66
ประเทศไทยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันโดยมีฝนฟ้าคะนองได้บางพื้นที่ ภาคเหนือตอนบนยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.สระบุรี (45 มม.) จ.บึงกาฬ (43 มม.) และ จ.ตราด (36 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 36,269 ล้าน ลบ.ม. (63%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 29,103 ล้าน ลบ.ม. (61%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ติดตามโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ ต.เกาะนางคำ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง โดยประสานงานด้านการบริหารโครงการฯ การใช้ประโยชน์จากโครงการฯ แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งติดตามระดับน้ำบาดาล คุณภาพน้ำบาดาล และร่วมทำแบบสอบถามความพึงพอใจของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้น้ำ
สทนช. ร่วมกับ มช. ลงนาม MOU ร่วมขับเคลื่อนการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภาคเหนือ หนุนใช้งานวิจัยและพัฒนาคนสู่การใช้ทรัพยากรน้ำในพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน
วานนี้ (9 ก.พ. 66) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. ลงนามบันทึกความเข้าใจการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภาคเหนือด้วยข้อมูล งานวิจัย และการพัฒนาบุคลากรนำไปสู่การใช้ทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนของประเทศไทย ร่วมกับ ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) โดยมี
นายวินิตา บุณโยดมรองอธิการบดี มช. เป็นพยาน และนายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ พร้อมด้วยผู้บริหารจาก สทนช. และ มช. เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น จัดขึ้นเพื่อบูรณาการความร่วมมือให้เกิดการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ด้วยข้อมูล งานวิจัย และการพัฒนาบุคลากร นำไปสู่การใช้ทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนของประเทศไทย รวมไปถึงรวมกันแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถของทั้งสองหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและสร้างประสิทธิผล สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน และสื่อสาร เผยแพร่ข้อมูลเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อสร้างการรับรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามแผนแม่บท
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) พร้อมทั้งบูรณาการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้กับภาคเอกชน ภาคชุมชน และภาคประชาชน ประกอบกับการสนับสนุนข้อมูลและเชื่อมโยงระบบสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 10 ก.พ. 2566 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ติดตามการดำเนินงานตามโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เพื่อประสานงานด้านการบริหารโครงการฯ การใช้ประโยชน์จากโครงการฯ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งติดตามระดับน้ำบาดาล คุณภาพน้ำบาดาล และร่วมทำแบบสอบถามความพึงพอใจของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้น้ำ
2. สภาพอากาศ
ประเทศไทยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันโดยมีฝนฟ้าคะนองได้บางพื้นที่ เนื่องจากมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 36,269 ล้าน ลบ.ม. (63%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 29,103 ล้าน ลบ.ม. (61%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,022 ล้าน ลบ.ม. (79%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,143 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 11,082 ล้าน ลบ.ม. (61%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 28,910 ล้าน ลบ.ม. (61%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 9,359 ล้าน ลบ.ม. (43%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,862 ล้าน ลบ.ม. (45%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงนามบันทึกความเข้าใจการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภาคเหนือด้วยข้อมูลงานวิจัย และการพัฒนาบุคลากรนำไปสู่การใช้ทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนของประเทศไทย เพื่อบูรณาการความร่วมมือให้เกิดการขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ด้วยข้อมูล งานวิจัย และการพัฒนาบุคลากร นำไปสู่การใช้ทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนของประเทศไทย รวมไปถึงรวมกันแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ