สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 ก.พ. 66
ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางบริเวณ จ.เชียงราย (17 มม.) จ.พระนครศรีอยุธยา (13 มม.) และ จ.ตาก (13 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 37,523 ล้าน ลบ.ม. (65%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 30,185 ล้าน ลบ.ม. (63%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งเตือนประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง ในพื้นที่ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วงวันที่ 2-5 ก.พ.66
ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง
กอนช.ถอดบทเรียนฤดูฝน ปี65 ปรับกระบวนทัพรับฝนปีถัดไป
นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฤดูฝน ปี 2565
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฤดูฝน ปี 2565 สทนช. ได้ร่วมบูรณาการหน่วยงานภายใต้ กอนช. ตั้งแต่ก่อนฤดู ระหว่างฤดู และสิ้นสุดฤดูฝน โดยผลการดำเนินงานตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565
ได้จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 3 ศูนย์ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งการคาดการณ์และประเมินพื้นที่เสี่ยงในพื้นที่ภาคใต้ ได้นำบทเรียนจากการทำงานของศูนย์ฯ ส่วนหน้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง มาปรับกระบวนการทำงานให้มีความเหมาะสม
ดังนั้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ในฤดูฝนปีถัดไป สทนช. จึงได้จัดประชุมสัมมนาถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูฝน ปี 2565 เพื่อสรุปผลการดําเนินงานและสรุปผลถอดบทเรียน 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 และศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย พร้อมรับทราบปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ รวมทั้งเปิดเวทีให้ทุกภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เพื่อนำไปปรับปรุงแนวทางการดำเนินการร่วมกัน
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 1 ก.พ. 2566 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินงานโครงการเติมน้ำใต้ดินระดับตื้นและติดตามวัดระดับน้ำบาดาลและเก็บตัวอย่างน้ำบาดาลจากบ่อสังเกตการณ์น้ำบาดาล ณ ตำบลคลองท่อมใต้ ตำบลห้วยน้ำขาว ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
2. สภาพอากาศ
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 37,523 ล้าน ลบ.ม. (65%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 30,185 ล้าน ลบ.ม. (63%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,193 ล้าน ลบ.ม. (83%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,146 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 11,576 ล้าน ลบ.ม. (64%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 29,970 ล้าน ลบ.ม. (63%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 8,134 ล้าน ลบ.ม. (37%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,322 ล้าน ลบ.ม. (39%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมทรัพยากรน้ำ จัดโครงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 โครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สระหนองอิรึม
สระทุ่งตกหมอก หมู่ที่ 1 ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโสม ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เพื่อให้แหล่งน้ำได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู มีความจุเก็บกักเพิ่มขึ้น ป้องกันน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำในพื้นที่การเกษตร