สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 30 ม.ค. 66
ประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช (49 มม.) จ.พัทลุง (40 มม.) และ จ.ปัตตานี (39 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 37,840 ล้าน ลบ.ม. (65%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 30,468 ล้าน ลบ.ม. (64%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. เร่งหน่วยงานดำเนินการป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566
ด้วยรัฐบาลมีนโยบายให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ และครม. มีมติเห็นชอบ 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2566 เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 65 กอนช. ได้ติดตามการบริหารจัดการน้ำ และเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันและบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่เสี่ยง ดังนี้
กรมชลประทาน ดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านแม่ปูคาพร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสนับสนุนการใช้น้ำอุปโภค-บริโภคและการเกษตร จำนวน 275 ไร่ รวมทั้งเพิ่มความสามารถระบายน้ำของลำน้ำแม่ปูคาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการก่อสร้างระบบเติมน้ำใต้ดินระดับตื้น ในพื้นที่ อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร และ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ พร้อมตรวจสอบสภาพบ่อเติมน้ำใต้ดิน ในพื้นที่ อ.สามง่าม อ.วชิรบารมี จ.พิจิตร และ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก รวมทั้งเฝ้าระวังระดับน้ำบาดาลและคุณภาพน้ำบาดาล เพื่อรองรับสถานการณ์ฤดูแล้ง จ.จันทบุรี
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 30 ม.ค. 2566 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเปิดโครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกล เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่แล้งซ้ำซาก บ้านหนองแก หมู่ที่ 9 ตำบลเมืองพะไล อำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีประชาชนได้รับประโยชน์ 420 ครัวเรือน หรือ 1,200 คน และองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพะไลได้มีการต่อยอดโครงการจากท่อเดิม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบกระจายน้ำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์มากขึ้น
2. สภาพอากาศ
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้มีอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 37,840 ล้าน ลบ.ม. (65%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 30,468 ล้าน ลบ.ม. (64%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,225 ล้าน ลบ.ม. (83%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,146 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 11,692 ล้าน ลบ.ม. (64%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 30,246 ล้าน ลบ.ม. (64%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 7,867 ล้าน ลบ.ม. (36%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,202 ล้าน ลบ.ม. (37%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
GISTDA ร่วมกับ UNESCAP จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “The 1st Training on Intelligent Technology for Geospatial Management on Agriculture for Cambodia” ระหว่างวันที่ 23-27 ม.ค. 2566 ณ Sunway Hotel Phnom Penh และสถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตรของกัมพูชา ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ในกลุ่มประเทศภูมิภาคลุ่มน้ำล้านช้าง–แม่โขง ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ จากหน่วยงานที่เป็นผู้ใช้งานจริงในส่วนของภาครัฐ และภาคการศึกษาของประเทศกัมพูชา