สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ธ.ค. 65
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.สงขลา (140 มม.) จ.นราธิวาส (117 มม.) และ จ.ยะลา (75 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 42,6531 ล้าน ลบ.ม. (73%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 34,635 ล้าน ลบ.ม. (72%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กองบัญชาการกองทัพไทย จัดกำลังพลชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนที่เร็ว ยานพาหนะ และรถยนต์นั่งตรวจการณ์ ดำเนินการลงพื้นที่โดยสนับสนุนน้ำดื่มสะอาด จำนวน 300 ขวด และข้าวสาร อาหารแห้ง โดยมอบให้แก่ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน บริเวณ จุดอพยพผู้ประสบภัยน้ำท่วม มัสยิดดารุลฮูดา หมู่ 1 บ้านละแอ ต.ละแอ อ.ยะหา จ.ยะลา
กรมทรัพยากรน้ำ จัดส่งรถบรรทุกน้ำ จำนวน 2 คัน แจกจ่ายน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค – บริโภค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในเขตพื้นที่ บ้านบางเคียน หมู่ที่ 13 ต.บางเคียน อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ จำนวน 550 คน 150 ครัวเรือน ปริมาณแจกจ่ายน้ำ 24,000 ลิตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ + สทนช.จัดเวทีถกความร่วมมือการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด สมุทรสงคราม ราชบุรี และเพชรบุรี
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้
เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 65 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และคณะ เดินทางมาตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ จ.สงขลา และพัทลุง นายกรัฐมนตรีรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ใน จ.สงขลา ณ ห้องรับรองกองบิน 56 โดยมี หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ในการนี้ นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูลสถานการณ์น้ำในพื้นที่ด้วย
ทั้งนี้ จ.สงขลา และพัทลุงเป็นอีกพื้นที่ใน 9 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบสถานการณ์อุทกภัยที่ได้รับผลกระทบจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ตั้งแต่วันที่ 18 – 20 ธ.ค.65 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ และลมกระโชกแรงในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวม 66 อำเภอ 271 ตำบล 1,425 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 64,626 ครัวเรือน ขณะที่พัทลุง น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อ.ตะโหมด ศรีนครินทร์ กงหรา เขาชัยสน ปากพะยูน ป่าบอน บางแก้ว เมืองพัทลุง และควนขนุน รวม 29 ตำบล 178 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,400 ครัวเรือน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ปัจจุบันสถานการณ์น้ำเริ่มลดลงแล้ว ส่วนราชการ จะเร่งสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อดำเนินการให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 22 ธ.ค. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่สำรวจธรณีฟิสิกส์ โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานเเสงอาทิตย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 บริเวณ บ้านห้วยฮ้อม ตำบลท่าสาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
2. สภาพอากาศ
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในวันนี้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลง 1–3 องศาเซลเซียส โดยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 42,606 ล้าน ลบ.ม. (74%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 34,698 ล้าน ลบ.ม. (73%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,754 ล้าน ลบ.ม. (94%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,155 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 13,679 ล้าน ลบ.ม. (75%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 34,314 ล้าน ลบ.ม. (72%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,341 ล้าน ลบ.ม. (15%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 1,080 ล้าน ลบ.ม. (13%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จัดประชุมโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครฝนหลวงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อร่วมกันวางแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน เป็นการส่งเสริมให้อาสาสมัครฝนหลวงมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานระหว่างศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ตามวัตถุประสงค์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในการช่วยเหลือบรรเทาพื้นที่ประสบภัยแล้ง และพื้นที่ประสบภัยพิบัติ