สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 พ.ย. 65
ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.นราธิวาส (88 มม.) จ.พิษณุโลก (75 มม.) และ จ.เพชรบูรณ์ (74 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 43,685 ล้าน ลบ.ม. (75%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 35,768 ล้าน ลบ.ม. (75%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง คาดว่ามีระดับน้ำลดลงจาการติดตามที่สถานีวัดน้ำจิ่งหง สาธารณรัฐประชาชนจีน
มีปริมาณน้ำไหลผ่านลดลง 580 ลบ.ม./วินาที (ระดับน้ำลดลง 90 ซม.) จากวิเคราะห์สถานการณ์การลดลงของปริมาณน้ำบริเวณสถานีจิ่งหงฯ ส่งผลให้ระดับน้ำโขงฝั่งไทยมีแนวโน้มลดลง ดังนี้
บริเวณสถานีเชียงแสน จ.เชียงราย คาดว่าระดับน้ำจะลดลงวันช่วงคืนวันที่ 27 พ.ย. 65 ถึง วันที่ 29 พ.ย. 65 รวม 50 -70 ซม.
บริเวณสถานีเชียงคาน จ.เลย คาดว่าระดับน้ำจะลดลงวันที่ 28 พ.ย. 65 ถึง วันที่ 30 พ.ย. 65 รวม 40 – 60 ซม. ตั้งแต่สถานีหนองคาย จ.หนองคาย ถึง สถานีโขงเจียม
จ.อุบลราชธานี คาดว่าระดับน้ำจะลดลงวันที่ 30 พ.ย. 65 ถึง วันที่ 3 ธ.ค. 65 รวม 40 – 60 ซม.
กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่และประกอบกิจกรรมในบริเวณแม่น้ำโขง รวมทั้งผู้ที่อาศัยในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขง
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เตรียมแผนการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง การเติมน้ำต้นทุนให้กับแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆ โดยจะเริ่มเปิดปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. 2566
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาล ตามโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 500 ไร่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 บ้านเขาภูหีบ หมู่ที่ 5 ต.ไทยอุดม อ.คลองหาด จ.สระแก้ว
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 28 พ.ย. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาล ตามโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 500 ไร่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (งบลงทุน) ณ บ้านเขาภูหีบ หมู่ที่ 5 ตำบลไทยอุดม อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว และโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (งบลงทุน) ณ บ้านค่ายเจริญ หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
2. สภาพอากาศ
ในช่วงวันที่ 28 – 29 พ.ย. 65 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้มีกำลังอ่อน ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยมีฝน ส่วนในวันที่ 30 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 43,705 ล้าน ลบ.ม. (75%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 35,768 ล้าน ลบ.ม. (75%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,779 ล้าน ลบ.ม. (94%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,158 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 14,161 ล้าน ลบ.ม. (78%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 35,390 ล้าน ลบ.ม. (75%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 1,565 ล้าน ลบ.ม. (7%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 390 ล้าน ลบ.ม. (5%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จัดประชุมแผนปฏิบัติการฝนหลวงประจำปี 2566 เชิงบูรณาการร่วมกับกองทัพอากาศ เพื่อสรุปผลการปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2565 และส่งมอบพลุสารดูดความชื้นและพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ของกองทัพอากาศ นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงแผนการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง การเติมน้ำต้นทุนให้กับแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆ บรรเทาปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เกินเกณฑ์มาตรฐาน และลดความรุนแรงของการเกิดพายุลูกเห็บ โดยจะเริ่มเปิดปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. 2566 รวมถึงแผนสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงของกองทัพอากาศ และความร่วมมือด้านงานวิจัยการดัดแปรสภาพอากาศ ประจำปี 2566 ซึ่งผลจากการร่วมหารือครั้งนี้จะนำไปสู่การทำงานอย่างบูรณาการที่เข้มแข็ง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการฝนหลวงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป