สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 18 พ.ย. 65
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.สุราษฎร์ธานี (140 มม.) จ.ยะลา (83 มม.) และจ.เชียงราย (73 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 43,801 ล้าน ลบ.ม. (76%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 35,906 ล้าน ลบ.ม. (75%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
สถานการณ์น้ำ จ.อุบลราชธานี 18 พ.ย. 65 สถานีวัดน้ำ M.7 บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 2,501 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำอยู่ที่ +112.36 ม.รทก สูงกว่าระดับตลิ่ง +0.36 ม.รทก โดยมีแนวโน้มลดลง
สภาพน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่ภาคใต้ 17 พ.ย. 65
เขื่อนรัชชประภา มีปริมาตรน้ำ 3,743 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 66
เขื่อนบางลาง มีปริมาตรน้ำ 939 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 65
กอนช. ติดตามการดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยลำทราย พร้อมระบบส่งน้ำ จ.กาญจนบุรี
กรมชลประทาน ดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยลำทราย พร้อมระบบส่งน้ำ ต.บ้านเก่า อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี แล้วเสร็จ 100% เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุนการใช้น้ำในพื้นที่ ตามนโยบายของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)
อ่างเก็บน้ำห้วยลำทราย พร้อมระบบส่งน้ำ มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน เก็บกักน้ำได้ประมาณ 6.5 ล้าน ลบ.ม. เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ให้กับประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งน้ำสนับสนุนกิจกรรมการใช้น้ำในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและเขตโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเอง ไทย-พม่า บ้านห้วยน้ำขาว ได้ประมาณ 4,000 ไร่ อีกทั้ง ช่วยเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรอาทิ อ้อย มันสำปะหลัง และผักต่างๆ รวมทั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดแห่งใหม่ ช่วยส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 18 พ.ย. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการวางระบบท่อส่งน้ำ เติมในสระน้ำ ณ ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง และช่วยอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทางน้ำ
2. สภาพอากาศ
ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ยังคงมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 43,801 ล้าน ลบ.ม. (76%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 35,906 ล้าน ลบ.ม. (75%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,738 ล้าน ลบ.ม. (93%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,156 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 14,125 ล้าน ลบ.ม. (78%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. 65 ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 35,492 ล้าน ลบ.ม. (75%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 936 ล้าน ลบ.ม. (4%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 219 ล้าน ลบ.ม. (3%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำบาดาล พร้อมนำเสนอโครงการต่างๆ ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ในงานสืบสานอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการลงแขกเกี่ยวข้าวในท้องถิ่น และสร้างความสามัคคีปรองดองในหมู่เกษตรกร ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเครือข่ายและแปลงข้าวอินทรีย์ศูนย์การเรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านโพนแอวขัน ตำบลโสกแสง อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี