สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 พ.ย. 65
ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณ จ.นราธิวาส (160 มม.) จ.ยะลา (128 มม.) และ จ.สงขลา (111 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 43,908 ล้าน ลบ.ม. (76%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,091 ล้าน ลบ.ม. (76%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา 11 พ.ย. 65 ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,120 ลบ.ม./วินาที และเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราประมาณ 894 ลบ.ม./วินาที โดยมีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์น้ำ จ.อุบลราชธานี 11 พ.ย. 65 สถานีวัดน้ำ M.7 บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 2,956 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำอยู่ที่ +113.16 ม.รทก สูงกว่าระดับตลิ่ง +1.16 ม.รทก โดยมีแนวโน้มลดลง คาดกว่าช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนจะกลับสู่ภาวะปกติ
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติดตามหน่วยงานรับมืออุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้
กรมชลประทาน เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักและสถานการณ์น้ำหลาก ตามแผนรับมืออุทกภัยปี 2565 ของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
โดยเตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักรเครื่องมือ การกำหนดตัวบุคคลรับผิดชอบ กำหนดพื้นที่เสี่ยง รวม 32 แห่ง การตรวจสอบอาคารชลประทานให้มีสภาพพร้อมใช้งาน รวมถึงการนำ 13 มาตรการ สู่ 4 แนวทางปฏิบัติ ได้แก่ คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางระบบชลประทานเร่งระบาย และ Stand by เครื่องมือเครื่องจักร มาใช้เพื่อเตรียมสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน ได้เตรียมความพร้อม ดังนี้
จ.ปัตตานี ได้จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อใช้ในการปิดท่อระบายน้ำบริเวณเขื่อนกันตลิ่ง จำนวน 100 กระสอบ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณมัสยิด บ้านจางา ต.ปะกาฮะรัง อ.เมืองปัตตานี
จ.นราธิวาส ดำเนินการกำจัดวัชพืชท่อระบายน้ำกลางคลองระบายน้ำพรุบาเจาะสาย 2 ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำในทางน้ำชลประทาน และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนปี 2565
จ.ยะลา ตรวจสอบความพร้อมการทำงานของฝายแก่งนางรำ หมู่ที่ 5 ต.ตาชี อ.ยะหา และในพื้นที่ฝายต้นชดและท่อระบาย ต.พร่อน และโครงการจัดหาน้ำให้ราษฎร หมู่ที่ 3,4 บ้านตาราแด๊ะ ต.บันนังสาเรง อ.เมืองยะลา เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝน
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 11 พ.ย. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่ ต.รอบเวียง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ และพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ทดลองโครงการต่างๆ เพื่อให้ความรู้และนำไปขยายผลสู่ชุมชน
2. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
2.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 43,908 ล้าน ลบ.ม. (76%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 36,091 ล้าน ลบ.ม. (75%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,662 ล้าน ลบ.ม. (92%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,155 ล้าน ลบ.ม. (62%)
2.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 14,104 ล้าน ลบ.ม. (78%)
3. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. 65 – ปัจจุบัน)
3.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 35,625 ล้าน ลบ.ม. (75%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,892 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 556 ล้าน ลบ.ม. (3%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 128 ล้าน ลบ.ม. (1%)
4. คุณภาพน้ำ และแจ้งเตือนน้ำทะเลหนุนสูง
4.1 คุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ในแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.2 ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า คาดว่าระดับน้ำจะขึ้นสูงสุด เวลา 07.42 น. ประมาณ 1.79 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติวิเคราะห์แล้วพบว่ายังไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา
5. ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
5.1 แผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในภาพรวมทั้งประเทศ จำนวน 16.30 ล้านไร่ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกแล้ว 0.22 ล้านไร่ (1%) สำหรับข้าวนาปรัง มีแผนการเพาะปลูก 13.55 ล้านไร่ มีการเพาะปลูกแล้ว 0.15 ล้านไร่ (1%)
5.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีแผนการเพาะปลูกพืช จำนวน 9.23 ล้านไร่ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกแล้ว 0.12 ล้านไร่ (1%) สำหรับข้าวนาปรัง มีแผนการเพาะปลูก 8.51 ล้านไร่ มีการเพาะปลูกแล้ว 0.08 ล้านไร่ (1%)