สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 8 พ.ย. 65

ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช (116 มม.) จ.สตูล (95 มม.) และ จ.สงขลา (66 มม.)
สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา 8 พ.ย. 65 ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,283 ลบ.ม./วินาที และเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราประมาณ 1,128 ลบ.ม./วินาที โดยมีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์น้ำ จ.อุบลราชธานี 8 พ.ย. 65 สถานีวัดน้ำ M.7 บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 3,173 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำอยู่ที่ +113.52 ม.รทก สูงกว่าระดับตลิ่ง +1.52 ม.รทก โดยมีแนวโน้มลดลง
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 44,093 ล้าน ลบ.ม. (76%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,252 ล้าน ลบ.ม. (76%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ติดตามการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ จากร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ ส่งผลให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ในช่วง 4-7 พ.ย. 65 มีปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จังหวัด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง โดยมีปริมาณฝนสะสม 3 วันสุงสุดที่จังหวัดสงขลา 347 มม. พัทลุง 337 มม. และนครศรีธรรมราช 331 มม.
ทั้งนี้เขื่อนบางลางได้เตรียมความพร้อมในการรับมือฤดูฝนในภาคใต้ โดยปรับเพิ่มการระบายน้ำจาก 4 ล้าน ลบ.ม./วัน เป็น 6 ล้าน ลบ./วัน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ต.ปะกาฮะรัง อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี จึงปรับลดการระบายน้ำลงมาที่ 4 ล้าน ลบ.ม./วัน เพื่อลดผลกระทบจนกว่าสถานการณ์ในพื้นที่กลับสู่ภาวะปกติ และจะมีแผนปรับการระบายน้ำเพิ่มเป็น 12 ล้าน ลบ.ม./วัน ต่อไป
กอนช. กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและลดผลกระทบสถานการณ์อุทกภัยได้ทันท่วงที
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 8 พ.ย. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ติดตามการเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่ตำบลคำเลาะ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานีตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และกำหนดจุดเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่ตำบลนาม่วง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี และตำบลคอนสวรรค์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนและป้องกันปัญหาภัยแล้ง
2. สภาพอากาศ
ในช่วงวันที่ 7 – 10 พ.ย. 65 ในช่วงวันที่ 7 – 10 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 11 – 13 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศมาเลเซีย ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 44,093 ล้าน.ลบ.ม. (76%) โดยแบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำ 36,252 ล้าน.ลบ.ม. (76%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำ 4,685 ล้าน.ลบ.ม. (92%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำ 3,155 ล้าน.ลบ.ม. (62%)
4. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2565 กรมทรัพยากรน้ำ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมในพิธีเปิดการประชุม Ramsar COP 14 ภายใต้หัวข้อหลัก “Wetlands Actions for People and Nature” ในรูปแบบการประชุมแบบผสม (Hybrid) ในโอกาสที่จีนเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุม RAMSAR COP14 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนได้กล่าวถ้อยแถลงในช่วงพิธีเปิดผ่านการบันทึกวีดีทัศน์ โดยได้ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการ การอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ ทั้งนี้ ภาคีสมาชิกจะได้เจรจาและหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาข้อมติต่างๆ ในอันที่จะเพิ่มความมีประสิทธิภาพในการอนุรักษ์ บริหารจัดการ และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำต่อไป ซึ่งการประชุมฯ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-13 พฤศจิกายน 2565 ณ International Conference Centre Geneva (CICG) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส