สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 2 พ.ย. 65
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ตรัง (112 มม.) จ.สงขลา (82 มม.) และ จ.นราธิวาส (78 มม.)
สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา 2 พ.ย. 65 ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,851 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาลดลงเช่นกัน โดยมีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตราประมาณ 1,672 ลบ.ม./วินาที
สถานการณ์น้ำ จ.อุบลราชธานี 31 ต.ค. 65 สถานีวัดน้ำท่า M.7 บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี มีปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 3,780 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับในลำน้ำมีแนวโน้มลดลง คาดว่าสถานการณ์น้ำในแม่น้ำมูลจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงกลางเดือน พ.ย. 65
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 44,224 ล้าน ลบ.ม. (76%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,446 ล้าน ลบ.ม. (76%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
ปริมาณน้ำต้นทุน ฤดูแล้งปี 2565/66 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง ณ วันที่ 1 พ.ย. 65
ทั้งประเทศ ปริมาณน้ำใช้การ 35,862 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 76% (มากกว่าปีที่แล้ว 5,400 ล้าน ลบ.ม.) แบ่งเป็น ภาคเหนือ น้ำใช้การ 14,088 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 79% (มากกว่าปีที่แล้ว 6,737 ล้าน ลบ.ม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ น้ำใช้การ 6,594 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 98% (มากกว่าปีที่แล้ว 649 ล้าน ลบ.ม.) ภาคกลาง น้ำใช้การ 1,261 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 101% (น้อยกว่าปีที่แล้ว 28 ล้าน ลบ.ม.) ภาคตะวันออก น้ำใช้การ 1,381 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็น 97% (มากกว่าปีที่แล้ว 92 ล้าน ลบ.ม.) ภาคตะวันตก น้ำใช้การ 9,676 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 67% (น้อยกว่าปีที่แล้ว 1,523 ล้าน ลบ.ม.) ภาคใต้ น้ำใช้การ 2,891 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 53% (น้อยกว่าปีที่แล้ว 526 ล้าน ลบ.ม.)
กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์และปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 2 พ.ย. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 9 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/65
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ริมแม่น้ำ ณ บ้านธรรมามูลใต้ หมู่ที่ 1 ตำบลธรรมามูล อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ประโยชน์จากโครงการที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
2. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
2.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 68,340 ล้าน ลบ.ม. (83%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำ 60,149 ล้าน ลบ.ม. (83%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำ 5,027 ล้าน ลบ.ม. (93%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำ 3,164 ล้าน ลบ.ม. (62%)
2.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 14,074 ล้าน ลบ.ม. (77%)
3. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. 64 ถึงปัจจุบัน)
3.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 35,871 ล้าน ลบ.ม. (76%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 14,735 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 17,187 ล้าน ลบ.ม. (117%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 4,000 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 4,527 ล้าน ลบ.ม. (113%)
4. คุณภาพน้ำ และแจ้งเตือนน้ำทะเลหนุนสูง
4.1 คุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ในแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.2 ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า คาดว่าระดับน้ำจะขึ้นสูงสุด เวลา 13.16 น. ประมาณ 1.82 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติวิเคราะห์แล้วพบว่ายังไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
การประปานครหลวง และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมบันทึกความร่วมมือ (MOU) เพื่อการจัดการการศึกษาด้านระบบผลิตน้ำประปา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างการประปานครหลวง และ ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านระบบผลิตน้ำประปา ของนิสิตในระดับปริญญาตรี ทั้งหลักสูตรภาคปกติและหลักสูตรภาคพิเศษ ให้ความรู้แก่หน่วยงานภายนอกของ กปน. สนับสนุนทางด้านงานวิจัย และนวัตกรรม รวมถึงให้การสนับสนุนบุคลากร เพื่อฝึกสอนงาน แนะนำ ให้คำปรึกษาในการจัดการเรียนการสอนด้านระบบผลิตน้ำประปา ให้แก่นักเรียนนิสิต เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและมีความรู้ความสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด