สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ต.ค. 65
ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีลมแรง และมีฝนบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.นราธิวาส (141 มม.) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (58 มม.) และ จ.ตราด (53 มม.)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มลดลง
เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 18-22 ต.ค. 65 ได้แก่ จ.ชุมพร (อ.หลังสวน ละแม สวี เมืองชุมพร และพะโต๊ะ) จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ) จ.พังงา (อ.เมืองพังงา กะปง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า ทับปุด และตะกั่วทุ่ง) จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จ.กระบี่ (อ.อ่าวลึก) จ.สุราษฎร์ธานี (อ.พระแสง ท่าฉาง คีรีรัฐนิคม ท่าชนะ บ้านนาสาร ไชยา พนม พุนพิน เกาะสมุย และเกาะพะงัน) จ.นครศรีธรรมราช (อ.เมืองนครศรีธรรมราช ท่าศาลา และปากพนัง) และจ.สตูล (อ.เมืองสตูล)
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 34 จังหวัด ได้แก่ จ.พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี นครปฐม นครนายก สุพรรณบุรี สระบุรี ขอนแก่น หนองบัวลำภู มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ภูเก็ต สงขลา ชุมพร และตรัง
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 67,753 ลบ.ม. (83%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 59,818 ล้าน ลบ.ม. (84%) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 22 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก แควน้อย ทับเสลา ป่าสัก กระเสียว ห้วยหลวง อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ลำนางรอง ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร บึงบระเพ็ด และหนองหาร
กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ เร่งหน่วยงานดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยต่อประชาชนผู้ประสบอุทกภัย สั่งการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจพื้นที่น้ำท่วม เยียวยาและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องรอน้ำลด ในการประชุมการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยและให้ความช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 65 ดังนี้
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกระดับ เตรียมความพร้อม ทั้งกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกลสาธารณภัย ให้พร้อมออกปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัย อาทิ การกำจัดวัชพืช ขยะตามเส้นทางน้ำ การพร่องน้ำในแหล่งน้ำ การเร่งระบายน้ำ/การเปิดทางน้ำ/ผลักดันน้ำ ออกจากพื้นที่ชุมชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม เมื่อสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่คลี่คลาย ให้เร่งสำรวจผลกระทบ ความเสียหายในด้านต่าง ๆ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ เยียวยาตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการสำรวจความเสียหายของที่อยู่อาศัย อาคารสิ่งปลูกสร้าง ยุ้งข้าว โรงเรือน รวมถึงสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พร้อมดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยทันที โดยจัดตั้งคณะทำงานสำรวจความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย ดำเนินการสำรวจประมาณราคาความเสียหาย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาช่วยเหลือผู้ประสบภัย
4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 22 ต.ค. 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 51/2565 ลงวันที่ 16 ต.ค. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 17 – 18 ต.ค. 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีลมแรง และมีฝนบางแห่ง ในขณะที่ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก บริเวณภาคใต้ ในช่วงวันที่ 18 – 22 ต.ค. 2565 ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อำเภอหลังสวน ละแม สวี เมืองชุมพร และพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา กะปง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า ทับปุด และตะกั่วทุ่ง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดกระบี่ (อำเภออ่าวลึก) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอพระแสง ท่าฉาง คีรีรัฐนิคม ท่าชนะ บ้านนาสาร ไชยา พนม พุนพิน เกาะสมุย และเกาะพะงัน) จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ท่าศาลา และปากพนัง) และจังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล)
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565
กรมชลประทาน ทยอยปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมวางแผนติดตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง เนื่องจากสถานการณ์น้ำทางตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะสามารถทยอยปรับลดการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้เหลือต่ำกว่า 2,700 ลบ.ม./วินาที ได้ภายใน 2-3 วัน ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำที่ล้นตลิ่งบางส่วนทยอยลดลงกลับเข้าสู่ลำน้ำ แต่ยังคงมีพื้นที่ลุ่มต่ำบางแห่งที่ยังมีน้ำท่วมขังอยู่ กรมชลประทานได้วางแผนติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ช่วยบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนโดยเร็วที่สุดในระยะต่อไป
3. สถานการณ์น้ำท่วม
สถานการณ์อุทกภัยในชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม ปัจจุบันมี 34 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 5 จังหวัด พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี ภาคกลาง 10 จังหวัด ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี ลพบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี และสระบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด ขอนแก่น หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมาบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก 2 จังหวัด ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา ภาคใต้ 4 จังหวัด ชุมพร ภูเก็ต สงขลา และตรัง
4. มาตรการและการช่วยเหลือ
กองทัพเรือร่วมกับเทศบาลตำบลกำแพงนำอาหารแห้ง น้ำดื่ม แจกจ่ายให้กับประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ ต.กำแพง อ.ละงู จ.สตูล