สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 ต.ค. 65
ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมทะเลอันดามันตอนกลาง ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.สุราษฎร์ธานี (94) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (32) จ.ตราด (12)
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 67,961 ล้าน ลบ.ม. (83%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 60,064 ล้าน ลบ.ม. (84%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 19 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่จาง แม่มอก แควน้อย ทับเสลา กระเสียว ป่าสัก ห้วยหลวง อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง สิรินทร ขุนด่านฯ คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทรจินดา หนองหารและบึงบระเพ็ด
เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 18 –22 ต.ค. 65 ได้แก่ จ.ชุมพร (อ.หลังสวน ละแม สวี เมืองชุมพร และพะโต๊ะ) จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ) จ.พังงา (อ.เมืองพังงา กะปง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า ทับปุด และตะกั่วทุ่ง) จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จ.กระบี่ (อ.อ่าวลึก) จ.สุราษฎร์ธานี (อ.พระแสง ท่าฉาง คีรีรัฐนิคม ท่าชนะ บ้านนาสาร ไชยา พนม พุนพิน เกาะสมุย และเกาะพะงัน) จ.นครศรีธรรมราช (อ.เมืองนครศรีธรรมราช ท่าศาลา และปากพนัง) และจ.สตูล (อ.เมืองสตูล)
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 33 จังหวัด ได้แก่ จ.พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ลพบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี สระบุรี ขอนแก่น หนองบัวลำภู มหาสารคาม ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา ภูเก็ต สงขลา ตรัง สตูล และกระบี่
กอนช. ติดตามสถานการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค.65
จากร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมทะเลอันดามันตอนกลาง ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ปัจจุบันมีพื้นที่เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต พังงา สตูล กระบี่ สงขลา และตรัง และยังมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 จังหวัด รวม 7 อำเภอ 17 ตำบล ดังนี้
จ.ภูเก็ต ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง รวม 1 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
จ.กระบี่ ต.เกาะลันตา อ.เกาะลันตา ระดับน้ำลดลง
จ.สตูล รวม 4 อำเภอ 12 ตำบล 73 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.มะนัง ควนกาหลง ละงู ทุ่งหว้า ระดับน้ำลดลง
จ.สงขลา อ.รัตภูมิ รวม 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะจุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 21 ต.ค. 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 51/2565 ลงวันที่ 16 ต.ค. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 17 – 18 ต.ค. 2565 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีลมแรง และมีฝนบางแห่งในขณะที่ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่ง ต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก บริเวณภาคใต้ ในช่วงวันที่ 18 – 22 ตุลาคม 2565 ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อำเภอหลังสวน ละแม สวี เมืองชุมพร และพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา กะปง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า ทับปุด และตะกั่วทุ่ง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดกระบี่ (อำเภออ่าวลึก) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอพระแสง ท่าฉาง คีรีรัฐนิคม ท่าชนะ บ้านนาสาร ไชยา พนม พุนพิน เกาะสมุย และเกาะพะงัน) จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ท่าศาลา และปากพนัง) และจังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล)
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565
วานนี้ (20 ต.ค. 65) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ ครั้งที่ 10 (The 10th ASEAN Ministerial Meeting on Disaster Management) และการประชุมผู้นำภาคีเพื่อดำเนินการตามความตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 11 (The 11th Meeting of the Conference of Parties to the AADMER) โดยในการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานด้านการจัดการภัยพิบัติของอาเซียน พร้อมทั้งรับรองเอกสารแผนการดำเนินงานร่วมกันรวมถึงเอกสารกำหนดบทบาทในความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ สำหรับการประชุมร่วมกับคู่เจรจา ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศญี่ปุ่น เพื่อหารือความเป็นไปได้และขยายกรอบความร่วมมือ รวมทั้งรับรองเอกสารสำคัญในการดำเนินความร่วมมือ เพื่อให้ประชาคมอาเซียนมีความพร้อมและสามารถรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
3. สถานการณ์น้ำท่วม
สถานการณ์อุทกภัยในชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม ปัจจุบันมี 33 จังหวัด ภาคเหนือ 6 จังหวัด พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี ภาคกลาง 9 จังหวัด ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ลพบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และสระบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด ขอนแก่น หนองบัวลําภู มหาสารคาม ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก 2 จังหวัด ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา ภาคใต้ 5 จังหวัด ภูเก็ต สงขลา ตรัง สตูล และกระบี่
4. มาตรการและการช่วยเหลือ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นำเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพร้อมด้วยเครื่องจักรกลสาธารณภัยเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ. ภูเก็ต โดยติดตั้งสะพานเบลีย์ บริเวณสะพานข้ามคลองบางเหนียวดำ บ้านม่าหนิก ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง นำรถขุดตักไฮดรอลิค เปิดเส้นทางจุดที่มีดินสไลด์ทับผิวจราจร บริเวณถนนสายควนตาแท่น หมู่ที่ 1 ต.ป่าถลอก อ.ถลาง และติดตั้งรถปฏิบัติการอุทกภัยพร้อมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ บริเวณสะพานอร่าม ถนนรัษฏา ต.ตลาดใหญ่ อ.เมืองภูเก็ต