สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 ต.ค. 65

บริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนลดลง แต่บริเวณภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.นราธิวาส (100 มม.) จ.นครศรีธรรมราช (98 มม.) และ จ.สงขลา (87 มม.)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
เฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ เนื่องจาก
ระดับน้ำเกินระดับเก็บกักและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำตามมติที่ประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำชี
ปริมาณน้ำที่ระบายในวันที่ 6 ต.ค. 65 ปริมาณ 41 ล้าน ลบ.ม.
เฝ้าระวังแม่น้ำป่าสัก-เจ้าพระยา ระดับน้ำเพิ่มสูง บริเวณ ดังนี้
ริมแม่น้ำป่าสักด้านท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ถึงเขื่อนพระรามหก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.40-1.00 เมตร
ท้ายเขื่อนพระรามหก ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.40-0.60 เมตร
จุดบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 0.25-0.50 เมตร
ปัจจุบันเกิดยังคงมีสถานการณ์ใน 21 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน เพชรบูรณ์ พิจิตร ตาก นครสวรรค์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ลพบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 64,577 ลบ.ม. (79%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 56,658 ล้าน ลบ.ม. (79%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 23 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก แควน้อย ทับเสลา ป่าสัก กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ลำนางรอง สิรินธร ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร และบึงบระเพ็ด
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศและกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัย เพื่อได้นำไปปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย
1. พยากรณ์ และคาดการณ์ลักษณะอากาศ สถานการณ์น้ำ และพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย แจ้งเตือนประชาชนเตรียมความพร้อมในการรับมือ
2. เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกลสาธารณภัย ออกปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัย
3. จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร แจ้งเตือนประชาชนใช้ความระมัดระวัง หรือหลีกเสี่ยงเส้นทางให้ชัดเจน
4. เมื่ออุทกภัยคลี่คลาย ให้เร่งสำรวจผลกระทบ ความเสียหายในด้านต่าง ๆ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
5. เมื่อเกิดน้ำท่วมขัง ให้ฝ่ายปกครอง ร่วมกันกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมทั้งบูรณาการหน่วยงานใช้เครื่องจักรกลสาธารณภัยเปิดทางน้ำ หรือสูบน้ำระบายออกจากพื้นที่
6. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างความเข้าใจกับประชาชนถึงแผนการบริหารจัดการสถานการณ์น้ำในระดับพื้นที่
7. ให้กรมประชาสัมพันธ์ และจังหวัด สร้างการรับรู้ผลการดำเนินการของภาครัฐ ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
8. การให้บริการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ต้องให้บริการได้นานและต่อเนื่องที่สุด และต้องมีแผนสำรองด้านการสื่อสาร
9. เตรียมแผนรองรับในพื้นที่เศรษฐกิจ โรงพยาบาล สาธารณสุข เกษตรกร ชาวประมง ปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์ ให้มีแผนสื่อสารที่ชัดเจนว่าจะได้รับการดูแลอะไรบ้าง
10. การเตรียมความพร้อมศูนย์อพยพต้องเพียงพอ