สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ต.ค. 65

บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่งและบริเวณภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักมากบางแห่ง

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ กรุงเทพมหานคร (166 มม.) จ.หนองบัวลำภู (103 มม.) และ จ.ยะลา (101 มม.)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันเกิดพื้นที่น้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก ระหว่างวันที่ 28 ก.ย. – 3 ต.ค. 65 บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร ตาก อุตรดิตถ์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่นนครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ มุกดาหาร สระบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี และพังงา
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 62,885 ลบ.ม. (77%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 52,449 ล้าน ลบ.ม. (77%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 23 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอก แควน้อย ทับเสลา ป่าสัก กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแซะ ลำนางรอง สิรินธร ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร และบึงบระเพ็ด
รัฐบาลโดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติดตามสถานการณ์อุทกภัย เนื่องจากอิทธิพลพายุ “โนรู” (NORU) ทำให้ฝนตกหนักมากและเกิดน้ำหลากน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ของประเทศ สั่งการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาอุทกภัยให้กลับสู่ภาวะปกติ และช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว พร้อมวางแผนป้องกันและรับมือล่วงหน้าโดยการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี และภาคกลาง จ.ชัยนาท วานนี้ (3 ต.ค. 65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามการดำเนินการโครงการด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดชัยนาทและพระนครศรีอยุธยา พร้อมติดตามสถานการณ์เขื่อนป้องกันตลิ่งบริเวณอำเภอป่าโมก จ.อ่างทอง และสถานการณ์น้ำแม่น้ำน้อย บริเวณที่ว่าการอำเภอเสนา จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมลงพื้นที่วัดโบสถ์(ล่าง) อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และขอให้ทุกหน่วยงานสนับสนุนการทำงานของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการทำงานอย่างเป็นเอกภาพ เร่งแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
กรมชลประทาน (ชป.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว
จังหวัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และกระทรวงการคลัง ร่วมกันพิจารณามาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และ กษ. พิจารณาแผนการปลูกพืชในพื้นที่ลุ่มต่ำที่ใช้เป็นพื้นที่รับน้ำหลาก เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร และเตรียมแผนการส่งน้ำเข้าทุ่ง เพื่อช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่
สทนช. เร่งรัดขับเคลื่อนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งน้ำท่วม เพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำในระดับพื้นที่
ชป. เร่งรัดการก่อสร้างคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน