สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 3 ต.ค.65

ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก

ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.บุรีรัมย์ (134) จ.กาญจนบุรี (117) และ จ.อุตรดิตถ์ (114)
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 62,129 ล้าน ลบ.ม. (75%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 54,309 ล้าน ลบ.ม. (75%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 19 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แม่มอก ทับเสลา กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง สิรินทร ขุนด่านฯ คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทรจินดา และบึงบระเพ็ด
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 46/2565 เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำยม
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามสถานการณ์น้ำไหลผ่านบริเวณอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (Y.14) วันที่ 2 ต.ค. 65 เมื่อเวลา 16.00 น. ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ +70.67 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง และบริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ +63.97 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ทั้งนี้ กรมชลประทานได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำที่บริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อัตรา 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ Y.4 (อำเภอเมืองสุโขทัย) มีระดับสูงขึ้น โดยจะควบคุมปริมาณน้ำผ่านในอัตราสูงสุดไม่เกิน 510 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อาจส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำ ตั้งแต่บริเวณอำเภอสวรรคโลก ศรีสำโรง เมืองสุโขทัย และกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอพรหมพิรามและบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสามง่ามและโพทะเล จังหวัดพิจิตร
กอนช. ติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกหนักจากอิทธิพลของพายุ โนรู
นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง ณ สำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ และการคาดการณ์ โดย พื้นที่ประสบภัย และการให้ความช่วยเหลือ การสร้างการรับรู้ประชาชนในทุ่งรับน้ำ จากนั้นได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ และผลกระทบการยกตัวระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา บริเวณจุดคันบ้านท่าข้าวโพด ต.บ้านกล้วยวัดลัดเสนาบดี (วัดเกาะ) และบริเวณ อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท
กรมชลประทาน เตรียมแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยใช้ระบบชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกในการบริหารจัดการน้ำอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทยให้เร็วที่สุด โดยให้โครงการชลประทานในพื้นที่รับช่วงต่อการระบายน้ำให้สอดคล้องกัน คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนเป็นหลัก และเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม บริเวณประตูระบายน้ำตามแนวคลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน คลองพระยาบรรลือ และคลองพระพิมล ดำเนินการกำจัดผักตบชวาและสิ่งกีดขวางทางน้ำตลอดเส้นทางน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำและเปิดทางให้น้ำไหลได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้รับผลกระทบจากฤดูน้ำหลากให้น้อยที่สุด พร้อมทั้งสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในพื้นที่ให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 3 ต.ค. 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 46/2565 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังน้ำระดับน้ำบริเวณแม่น้ำยม เนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โนรู” ในช่วงวันที่ 25 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565 เกิดฝนตกหนักบริเวณจังหวัดแพร่ และจังหวัดสุโขทัย ส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำยมที่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (Y.14) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามสถานการณ์น้ำไหลผ่านบริเวณอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (Y.14) วันที่ 2 ต.ค. 2565 เมื่อเวลา 16.00 น. ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ +70.67 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,186 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และบริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ +63.97 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำ ที่บริเวณประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อัตรา 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ Y.4 (อำเภอเมืองสุโขทัย) มีระดับสูงขึ้น โดยจะควบคุมปริมาณน้ำผ่านในอัตราสูงสุดไม่เกิน 510 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อาจส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำ ตั้งแต่บริเวณอำเภอสวรรคโลก ศรีสำโรง เมืองสุโขทัย และกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอพรหมพิรามและบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสามง่ามและโพทะเล จังหวัดพิจิตร
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จัดประชุมติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง ณ สำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (Gistda) กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรมชลประทาน กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กองบัญชาการกองทัพไทย และกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อติดตามสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ และการคาดการณ์ โดย พื้นที่ประสบภัย และการให้ความช่วยเหลือ การสร้างการรับรู้ประชาชนในทุ่งรับน้ำ จากนั้นได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ และผลกระทบการยกตัวระดับน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา บริเวณจุดคันบ้านท่าข้าวโพด ต.บ้านกล้วย วัดลัดเสนาบดี (วัดเกาะ) อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท และบริเวณเกาะเทโพ จ.อุทัยธานี
3. สถานการณ์น้ำท่วม ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565
จากสถานการณ์พายุโซนร้อนกำลังแรง “โนรู (NORUJ)” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางใต้เล็กน้อย เคลื่อนผ่านสาธารณรัฐฟิลิปปีนส์ลงทะเลจีนใต้ตอนกลาง พายุเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน เคลื่อนเข้าประเทศไทยบริเวณ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้นสงผลใหมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนเมืองและเกษตรกรรม รวม 32 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงรายพะเยา ลําพูน ลําปาง เชียงใหม่ สุโขทัย ตาก และพิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ และสุรินทร์ ภาคกลาง จังหวัดลพบุรี เพชรบูรณ์ สระบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี และนครปฐม ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี และปราจีนบุรี ภาคใต้ จังหวัดพังงา