สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 ก.ย. 65
ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.อุบลราชธานี (216 มม.) จ.ระนอง (99 มม.) และ จ.ชลบุรี (76 มม.)
พายุดีเปรสชัน “โนรู” (NORU) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณอ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กม./ชม. พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 10 กม./ชม. คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับในระยะต่อไป
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 58,455 ลบ.ม. (72%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 51,926 ล้าน ลบ.ม. (73%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคเหนือ และภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 17 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา แม่มอก ทับเสลา กระเสียว ห้วยหลวง จุฬาภรณ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่าน คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล นฤบดินทร และบึงบระเพ็ด
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประกาศเฝ้าระวังเนื่องจากอิทธิพลของพายุ “โนรู” (NORU) ในช่วงวันที่ 27 ก.ย.–2 ต.ค. 65 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ดังนี้
เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา กอนช. ได้ประเมินสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา คาดการณ์ว่าจะมีน้ำไหลผ่านบริเวณ จ.นครสวรรค์ (สถานี C.2) อยู่ในเกณฑ์ 2,500–2,800 ลบ.ม./วินาที โดยปริมาณน้ำจะไหลมารวมกับแม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขาไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ 2,300–2,500 ลบ.ม./วินาที ในช่วงวันที่ 1–7 ต.ค. 65 โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.30 – 0.60 เมตร บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
โดย กอนช. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ ระบบชลประทาน เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สำหรับเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ขอให้บริหารจัดการน้ำโดยใช้ระบบชลประทานในการนำเข้าคลองต่าง ๆ ทั้งด้านฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้ได้มากที่สุดตามศักยภาพคลองชลประทาน ในแต่ละช่วงเวลาที่สามารถรองรับได้
เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง กอนช. ขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงเพิ่มเติมช่วงวันที่ 29 ก.ย.–4 ต.ค. 65 จากประกาศ ฉบับที่ 41/2565 ได้แก่
1. ภาคเหนือ บริเวณ จ.ลำปาง อ.ห้างฉัตร เมืองลำปาง และเกาะคา จ.ตาก อ.อุ้มผาง ท่าสองยาง และแม่ระมาด จ.เพชรบูรณ์ อ.วิเชียรบุรี ศรีเทพ บึงสามพัน และหนองไผ่ จ.กำแพงเพชร อ.ปางศิลาทอง และคลองลาน
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.อุดรธานี อ.บ้านผือ จ.ชัยภูมิ อ.ภักดีชุมพล หนองบัวระเหว และหนองบัวแดง จ.ขอนแก่น อ.เมืองขอนแก่น จ.ยโสธร อ.เลิงนกทา เมืองยโสธร และทรายมูล จ.นครราชสีมา อ.แก้งสนามนาง และด่านขุนทด จ.บุรีรัมย์ อ.กระสัง จ.ศรีสะเกษ อ.ไพรบึง กันทรารมย์ และกันทรลักษ์ จ.อุบลราชธานี อ.เขื่องใน ดอนมดแดง เมืองอุบลราชธานี ศรีเมืองใหม่ นาตาล โขงเจียม เดชอุดม ตระการพืชผล พิบูลมังสาหาร สว่างวีระวงศ์ โพธิ์ไทร ม่วงสามสิบ ตาลสุม และเขมราฐ จ.อำนาจเจริญ อ.เมืองอำนาจเจริญ เสนางคนิคม พนา และชานุมาน จ.มุกดาหาร อ.ดอนตาล
3. ภาคกลาง บริเวณ จ.ลพบุรี อ.ลำสนธิ ท่าหลวง ชัยบาดาล สระโบสถ์ และพัฒนานิคม จ.สระบุรี อ.มวกเหล็ก วังม่วง และแก่งคอย
4. ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ปราจีนบุรี อ.ประจันตคาม เมืองปราจีนบุรี กบินทร์บุรี นาดี และศรีมหาโพธิ ทั้งนี้ กอนช. ให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์น้ำ ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม โดยปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณพื้นที่เสี่ยง
ขอเชิญติดตามรับฟัง นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ให้สัมภาษณ์สดทางโทรศัพท์ ในรายการข่าวเช้าของวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ประเด็น “การปรับแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับมือผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นโนรู”
ออกอากาศสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 MHz
สามารถรับฟังออนไลน์ได้ทาง page Facebook Radio Thailand Live :