สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 ก.ย. 65
ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.อุบลราชธานี (204) จ.ปราจีนบุรี (145) และ จ.เชียงใหม่ (115)
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 57,727 ล้าน ลบ.ม. (70%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 50,332 ล้าน ลบ.ม. (70%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 14 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา แม่มอก ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่านฯ คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล และบึงบระเพ็ด
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 27 ก.ย. –2 ต.ค. 2565 ดังนี้
1. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ดังนี้
1.1 ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน ตาก แพร่ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี และเพชรบูรณ์
1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
1.3 ภาคกลาง จ.สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
1.4 ภาคตะวันออก จ.นครนายก สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
1.5 ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และนราธิวาส
2. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและ ลำน้ำสาขา ของแม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำเลย แม่น้ำชี ลำน้ำเชิญ ลำน้ำพรหม ลำน้ำพอง แม่น้ำมูล แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำตราด
3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด 13 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล แม่มอก กิ่วคอหมา ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่านปราการชล คลองสียัด นฤบดินทรจินดา และบางพระ รวมทั้งอ่างฯขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาตรน้ำมากกว่า 80% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำทั่วประเทศ
กอนช. ติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือพายุไต้ฝุ่น “โนรู (NORU)“ ที่มีโอกาสเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ ดังนี้
กรมชลประทาน ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ ตลอดจนติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ เร่งกำจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำ วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ด้วยการปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณพื้นที่เสี่ยง อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วมให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม ปรับการระบายน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุรับมือน้ำหลาก รวมทั้ง เร่งพร่องน้ำในอ่างฯ ภาคตะวันออกให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม เพื่อรองรับน้ำฝนระหว่างวันที่ 26 – 29 ก.ย. 2565
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 26 ก.ย. 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
1.1 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 40/2565 ลงวันที่ 22 ก.ย. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 2,100 – 2,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แม่น้ำสะแกกรัง สถานี Ct.19 อัตรา 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลำน้ำสาขาอัตรา 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีและการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งรวมจำนวน 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งมีความจำเป็นจะต้องให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ 2,200 – 2,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในช่วงวันที่ 25 – 27 ก.ย. 2565 โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อน เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 0.30 – 0.50 เมตร บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอเสนา และผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภออินทร์บุรี เมืองสิงห์บุรี และพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ
1.2 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 41/2565 ลงวันที่ 24 ก.ย. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ได้ติดตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุดีเปรสชันบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “โนรู (NORU)” คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 27 – 28 ก.ย. 2565 ส่งผลทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงในช่วงวันที่ 27 – 29 ก.ย. 2565 และ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ในช่วงวันที่ 27 ก.ย. – 2 ต.ค. 2565 จำนวน 43 จังหวัด 148 อำเภอ
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับฤดูฝน ปี 2565
วานนี้ (25 ก.ย. 65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประชุมตรวจราชการ ณ ห้องประชุมเมืองราด ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ อาคาร 2 อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปข้อมูลพื้นฐานสภาพทั่วไป ผลการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล และนโยบายของจังหวัด ข้อมูลสถานการณ์น้ำ ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ที่ผ่านมา และปัญหาสำคัญอื่น ๆ พร้อมทั้งมอบนโยบายและข้อสั่งการให้กับหัวหน้าส่วนราชการของจังหวัดเพชรบูรณ์และติดตามสถานการณ์อุทกภัยและแนวทางแก้ไขปัญหาของ เทศบาลเมืองหล่มสักและเทศบาลตำบลตาลเดี่ยว ณ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
3. สถานการณ์น้ำท่วม
ร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกําลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง ในระหว่าง วันที่ 4 – 26 ก.ย. 65 ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม รวม 27 จังหวัด ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน สุโขทัย ตาก และเพชรบูรณ์ ภาคกลาง จังหวัดปทุมธานี นครปฐม พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี และชัยนาท ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง และปราจีนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี ขอนแก่น เลย ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์