สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 ก.ย. 65

ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.สุราษฎร์ธานี (121) จ.ระยอง (89) และกรุงเทพมหานคร (86)
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 54,090 ล้าน ลบ.ม. (65%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 47,202 ล้าน ลบ.ม. (66%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แม่มอก กิ่วลม กิ่วคอหมา แควน้อยบำรุงแดน อุบลรัตน์ น้ำพุง ขุนด่านฯ บางพระ หนองปลาไหล นฤบดิทราจินดา และบึงบระเพ็ด
เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง ดังนี้
ภาคเหนือ จ.ชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน อุตรดิตถ์ ลำพูน ลำปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ และภาคตะวันออก จ.ชลบุรี จันทบุรีและตราด
เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งระหว่างวันที่ 16-17 ก.ย. 65 บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จ.อ่างทองคลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี จ.นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และ จ.สมุทรปราการ
เฝ้าระวังแหล่งน้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) 12 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วคอหมา กิ่วลม แม่มอกบึงบอระเพ็ด ทับเสลา อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน บางพระ และหนองปลาไหล รวมทั้งอ่างฯ ขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่า 80% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำทั่วประเทศ
กอนช. ติดตามการดำเนินงานในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเร่งแก้ไขสถานการณ์น้ำในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้
กอนช. โดยนายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับผู้แทนสำนักงานชลประทานที่ 7 ขึ้นเฮลิคอปเตอร์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร สำรวจ ติดตามสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำและพื้นที่ลุ่มต่ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล โดยพบว่าพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำบริเวณ จ.ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ยังมีพื้นที่น้ำท่วม 2 ฝั่งลำน้ำชี ซึ่งกรมชลประทานจะเร่งรัดดำเนินการสูบน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังเพื่อให้ไม่กระทบกับพื้นเกษตรต่อไป พร้อมกันนี้ ได้พิจารณาแนวทางการเร่งรัดการบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ รวมถึงประตูระบายน้ำ ทั้งการเร่งระบายน้ำและแผนการเก็บกักน้ำในพื้นที่แก้มลิงที่มีศักยภาพ
กรมชลประทาน ลงพื้นที่บริเวณสถานีสูบน้ำประเวศบุรีรมย์
เขตลาดกระบัง กทม. ในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร เพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำ หลังมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ส่งผลให้มีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำหลายแห่งกรมชลประทาน ได้เร่งระบายน้ำในคลองประเวศบุรีรมย์ผ่านประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำท่าถั่ว อ.บ้านโพธิ์
จ.ฉะเชิงเทรา ลงสู่แม่น้ำบางปะกง ก่อนระบายออกสู่อ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง ด้านคลองพระองค์ไชยานุชิต มีแผนติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำให้ระบายออกสู่ทะเลอ่าวไทยให้เร็วที่สุดลดผลกระทบชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำตลอดแนวสองฝั่งคลองประเวศบุรีรมย์