สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 3 ก.ย. 65

ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนัก

ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.ภูเก็ต (249) จ.พิษณุโลก (73) และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (67)
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 51,021 ล้าน ลบ.ม. (63%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 45,42 ล้80า ลบ.ม. (64%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ แม่งัด แควน้อยบำรุงแดน อุบลรัตน์ น้ำพุง ขุนด่านฯ บางพระ หนองปลาไหล นฤบดิทราจินดา และบึงบระเพ็ด
กอนช. ประกาศฉบับที่ 36/2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมขัง ในช่วงวันที่ 4-10 กันยายน 2565 เพิ่มเติม ดังนี้
ภาคเหนือ จังหวัดน่าน (อ.บ่อเกลือ แม่จริม และสันติสุข) จ.ตาก (อ.ท่าสองยาง พบพระ อุ้มผาง และแม่สอด จ.อุทัยธานี (อ.บ้านไร่)
ภาคตะวันออก จ.นครนายก (อ.เมืองนครนายก และปากพลี) จ.ปราจีนบุรี (อ.นาดี ประจันตคาม และกบินทร์บุรี) จ.ระยอง (อ.แกลง) จ.จันทบุรี (อ.ท่าใหม่ และมะขาม) และจ.ตราด (อ.เขาสมิง และบ่อไร่)
ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี (อ.ท่าม่วง ท่ามะกา พนมทวน และห้วยกระเจา) จ.ลพบุรี (อ.หนองม่วง พัฒนานิคม ท่าหลวง บ้านหมี่ โคกสำโรง และสระโบสถ์) จ.สระบุรี (อ.แก่งคอย วังม่วง และมวกเหล็ก) จ.สุพรรณบุรี (อ.ดอนเจดีย์ ด่านช้าง เมืองสุพรรณบุรี ศรีประจันต์ สองพี่น้อง สามชุก อู่ทอง และบางปลาม้า) จ.นครปฐม (อ.กำแพงแสน)
ภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี (อ.บ้านตาขุน และวิภาวดี) จ.นครศรีธรรมราช (อ.ลานสกา พิปูน และช้างกลาง) จ.ระนอง (อ.ละอุ่น และเมืองระนอง) จ.พังงา (อ.กะปง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า เมืองพังงา และคุระบุรี) จ.กระบี่ (อ.อ่าวลึก) จ.ภูเก็ต (อ.ถลาง และเมืองภูเก็ต)
กอนช. ติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที้รับผลกระทบจากการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ดังนี้
กรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ จากเหตุการณ์น้ำไหล่บ่าจากตลิ่งฝั่งขวาคลองบางบาล ด้านท้ายประตูระบายน้ำปากคลองบางบาล ทำให้มีบ้านเรือนชาวบ้านได้รับผลกระทบ นั้น และเข้าไปช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ด้วยการเสริมคันดินหลังโรงเรียนบางบาลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมกันนี้ ยังได้มอบถุงยังชีพให้กับชาวบ้าน ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและบรรเทาความเดือดร้อน ปัจจุบันระดับน้ำที่ท่วมเริ่มลดลงแล้ว
จังหวัดสิงห์บุรี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ตรวจสอบสถานการณ์น้ำซึ่งเป็นผลกระทบจากการระบายน้ำท้ายเขื่อนและติดตามการเตรียมการป้องกันพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่
อ.อินทร์บุรี นำดินมาทำคันดินเสริมในช่วงพื้นที่สิ้นสุดการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม และนำดินเหนียวอัดหน้าเขื่อนป้องกันตลิ่งตลอดแนวเขื่อนป้องกันตลิ่งที่เป็นจุดเสี่ยงจากน้ำลอดใต้เขื่อนปี 2564 เพื่อป้องกันน้ำลอดซึม และได้บดอัดดินเหนียวเป็นแนวเสมอถนนบริเวณจุดเสี่ยงช่วงฟันหลอของการสร้างเขื่อน เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่
อ.เมืองสิงห์บุรี วางกระสอบทรายช่วงใต้สะพานบางระจัน เพื่อป้องกันน้ำล้นแม่น้ำเข้าท่วมพื้นที่เขตเศรษฐกิจและเขตเมืองฯ รวมถึงมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 24 เครื่อง ทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเตรียมระบายน้ำ