พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ซึ่งทรงครองราชย์ตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 4 พ.ค. โดยพระราชพิธีทั้งหมดมีก่อนหน้านี้แล้ว 3 วัน
นับเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของประเทศไทยในรอบ 69 ปี
ในช่วงเช้าของวันที่ 4 พ.ค. พระองค์ทรงฉลองพระองค์ชุดสีขาว ทรงสรงพระมุรธาภิเษกจากสหัสธารา ณ ชาลาพระที่นั่งจักพรรดิพิมาน ซึ่งถือเป็นวินาทีที่พระองค์เปลี่ยนพระราชสถานะเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ตามราชประเพณีของไทย และทรงเปลี่ยนพระนามเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงถวายน้ำพระพุทธมนตร์ที่พระปฤษฎางค์(แผ่นหลัง) และพระหัตถ์ของพระองค์ โดยมีการยิงสลุตหลวงพิเศษอยู่ข้างนอกในระหว่างประกอบพระราชพิธี
จากนั้นพระองค์ทรงฉลองพระองค์เต็มยศ ทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ ทรงรับเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสง พระองค์ได้สเด็จออกมหาสมาคม ต่อหน้าบรรดาพระราชวงศ์และแขกผู้มีเกียรติจากต่างประเทศ โดยทรงพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการต่อประชาชนชาวไทยว่า “ เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฏรตลอดไป”
พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ของไทยทรงมีพระชนมายุ 66 พรรษา ทรงขึ้นครองราชย์หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงสวรรคตเมื่อ 3 ปีก่อน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 ในราชวงศ์จักรี
เมื่อวันที่ 1 พ.ค. ทรงทำให้ประชาชนชาวไทยรู้สึกประหลาดใจด้วยการประกาศพิธีอภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการกับหม่อมสุุทิดา และทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์ใหม่ของไทย
ดร.ปวงชน อุนจะนำ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวรให้ความเห็นกับสื่อสเตรทไทม์ว่าจากการครองราชย์เป็นเวลา 3 ปี พระองค์ทรงแสดงให้เห็นว่าทรงมีทักษะทางการเมือง
ทรงมีความตั้งใจจริงและทรงกล้าแสดงออกในการปกครองมากกว่าที่ประชาชนคิด โดยดร.ปวงชนระบุว่า พระองค์ทรงมีความเคลื่อนไหวมากกว่าพระราชบิดาในการปกป้องผลประโยชน์ในทางการเมืองและเศรษฐกิจของราชวงศ์.