สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 ส.ค. 65
ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ปราจีนบุรี (194 มม.) จ.นครนายก (194 มม.) และ จ.ลำปาง (156 มม.)
เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำวังล้นตลิ่ง ตามที่เขื่อนกิ่วลมปรับเพิ่มอัตราการระบายน้ำเป็น 201 – 250 ลบ.ม./วินาที จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ริมตลิ่งสองฝังแม่น้ำวัง ในพื้นที่ จ.ลำปาง และตาก
ฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำชีล้นตลิ่ง ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 26 – 31 ส.ค. 65
เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน บริเวณจ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ตาก กาฬสินธุ์ นครพนม บึงกาฬ สกลนคร หนองคายอุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครนายก ระยอง จันทบุรี และตราด
พื้นที่ประสบอุทกภัย ในระหว่างวันที่ 24- 26 ส.ค. 65ยังคงมีสถานการณ์ในบริเวณพื้นที่ จ.ลำปาง พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปราจีนบุรี และอุบลราชธานี
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 51,318 ล้าน ลบ.ม. (63%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 44,768 ล้าน ลบ.ม. (63%) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วลม แควน้อย ป่าสักชลสิทธิ์ อุบลรัตน์ น้ำพุง และบางพระ
ตามที่ กอนช. ประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง หน่วยงานได้บูรณาการร่วมกัน ดังนี้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่่จุดเสี่ยงสำคัญ พื้นที่เศรษฐกิจ พื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ อ.บางบาล อ.บางไทร อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
กรมทรัพยากรน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 30 นิ้ว เพื่อเร่งระบายน้ำให้กับชุมชนท่าบ้งมั่ง และชุมชนเกตุแก้ว อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
กรมชลประทาน ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยในขณะนี้ ได้แก่
จังหวัดขอนแก่น ได้ยกบานประตูระบายน้ำที่เขื่อนชนบท มหาสารคาม วังยาง และร้อยเอ็ด ทุกบาน พร้อมติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 15 เครื่อง ที่เขื่อนร้อยเอ็ด เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่ลำน้ำชี
จังหวัดชัยภูมิ เร่งระบายน้ำ ด้วยการยกบานประตูระบายน้ำลำน้ำเชิญ อ.ชุมแพ ให้พ้นน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ช่วยลดผลกระทบพื้นที่ตอนบนทั้งในเขต จ.ชัยภูมิ และ จ.ขอนแก่น
จังหวัดร้อยเอ็ด เตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ จำนวน 23 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำ พร้อมกระสอบทราย 12,000 กระสอบ วางเสริมป้องกันจุดเสี่ยงน้ำท่วมตลอดแนวพนังกั้นน้ำ
จังหวัดอุบลราชธานี ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในลำน้ำมูล จำนวน 100 เครื่อง บริเวณสะพานพิบูลมังสาหาร เพื่อเร่งผลักดันน้ำลงสู่แม่น้ำโขง
ทั้งนี้ กอนช. ขอให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมด้านเครื่องจักร เครื่องมือ ประจำพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ทันที