สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ส.ค. 65
ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.แม่ฮ่องสอน (150) จ.พังงา (142) และ จ.จันทบุรี (81)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 50,388 ล้าน ลบ.ม. (61%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 43,927 ล้าน ลบ.ม. (61%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม ป่าสักฯ อุบลรัตน์ น้ำพุง หนองปลาไหล บางพระ และบึงบระเพ็ด
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 22 – 25 ส.ค. 2565 คาดการณ์สถานการณ์น้ำในลำน้ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 0.50-1.00 เมตร จึงขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณ ลุ่มน้ำป่าสัก เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณ อ.หล่มเก่าและหนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ คาดการณ์ระดับน้ำจะสูงกว่าตลิ่งบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำป่าสักประมาณ 0.60 เมตร ลุ่มน้ำชี เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำชี บริเวณ อ.เมืองอุบลราชธานี และเขื่องใน จ.อุบลราชธานี ลำน้ำยัง บริเวณ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ลำปะทาว บริเวณ อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ ลุ่มน้ำมูล เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำมูล บริเวณ อ.เมืองอุบลราชธานี พิบูลมังสาหาร วารินชำราบ และสว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ลำเซบก บริเวณ อ.ม่วงสามสิบ ดอนมดแดง และตาลสุม จ.อุบลราชธานี ลำโดมใหญ่ บริเวณ อ.น้ำยืน นาจะหลวย บุณฑริก เดชอุดม นาเยีย และพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
การประชุมคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ส.ค. 2565 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติให้ กฟผ. เพิ่มการระบายน้ำเขื่อนอุบลรัตน์จากเดิมวันละ15 ล้าน ลบ.ม./วัน ปรับเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันได วันละ 3 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน จนถึงอัตราการระบายไม่เกิน 25 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน (โดยยังไม่มีผลกระทบด้านท้ายน้ำ) ดังนี้
วันที่ 22-23 ส.ค. 2565 ระบายวันละ 15 ล้านลบ.ม.ต่อวัน
วันที่ 24 ส.ค. 2565 ระบายวันละ 18 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน
วันที่ 25 ส.ค. 2565 ระบายวันละ 21 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน
และให้ปรับการระบายน้ำตามปริมาณน้ำไหลเข้าในอัตราไม่เกิน25 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน ทั้งนี้ ให้แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ด้านท้ายเขื่อน ให้รับทราบและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 22 ส.ค. 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 31/2565 ลงวันที่ 21 ส.ค. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 22 – 25 ส.ค. 2565 โดยมีพื้นที่บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาไหลหลากเข้าท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำเกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ และพื้นที่ชุมชน ดังนี้
1.ลุ่มน้ำป่าสัก เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ คาดการณ์ระดับน้ำจะสูงกว่าตลิ่งบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำป่าสักประมาณ 0.60 เมตร
2. ลุ่มน้ำชี เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี และชัยภูมิ
3. ลุ่มน้ำมูล เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี
2. สถานการณ์อุทกภัย
จากหย่อมความกดอากาศต่ำปกคุลมประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และการระบายน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง ในระหว่างวันที่ 15 – 21 ส.ค. 2565 เกิดสถานการณ์ในพื้นที่ 19 จ. ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 9 จังหวัด (อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น ชัยภูมิ และอุบลราชธานี) ดังนี้
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง มีพื้นที่น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำรวม 7 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อำเภอบางบาล บางปะหัน เสนา ผักไห่ และท่าเรือ) และ จังหวัดอ่างทอง (อำเภอป่าโมก และวิเศษชัยชาญ) ปัจจุบันกรมชลประทานได้ระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา 1,500 ลบ.ม/วินาที
จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออู่ทอง อำเภอเมือง อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอบางปลาม้า คาดการณ์ว่าระดับน้ำในคลองโผงเผงและแม่น้ำน้อยจะลดลงตามปริมาณการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา
จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี ปัจจุบันคลองพระปรงและแม่น้ำปราจีนบุรียังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
จังหวัดสระแก้ว มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดสระแก้ว ส่งผลให้เกิดน้ำล้นตลิ่ง ปัจจุบันระดับยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
จังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนมสารคาม และวัง ปัจจุบันระดับน้ำในคลองระบายน้ำยังทรงตัว หากไม่มีปริมาณฝนตกหนักเพิ่มเติม คาดว่าระดับน้ำจะเริ่มลดระดับลง
จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมัญจาคีรี คาดว่า ภายใน 3-5 วัน หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มสถานการณ์จะเข้าสู่ปกติ
จังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมัญจาคีรี พื้นที่น้ำท่วมประมาณ 600 ไร่ ระดับน้ำในพื้นที่น้ำท่วมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดว่าสถานการณ์ จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1-2 วัน
จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่น้ำน้ำท่วม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวารินชำราบ อำเภอนาจะหลวย อำเภอเดชอุดม อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำยืน และอำเภอเมือง คาดว่าสถานการณ์ จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 3-4 วัน