สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 18 ส.ค. 65
ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.อุบลราชธานี (115 มม.) จ.ยะลา (105 มม.) และ จ.ตาก (75 มม.)
เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงบริเวณริมแม่น้ำโขง ตั้งแต่ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ที่อาจได้รับผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้นประมาณ 1.0 – 2.0 ม. อย่างฉับพลัน ในช่วงวันที่ 14 – 18 ส.ค. 65
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 49,526 ล้าน ลบ.ม. (60%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 43,143 ล้าน ลบ.ม. (60%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม แควน้อย ป่าสักชลสิทธิ์ อุบลรัตน์ น้ำพุง หนองปลาไหล บางพระ และบึงบระเพ็ด
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลันในช่วงวันที่ 20 – 24 ส.ค. 65 ดังนี้
เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์ นครพนม บึงกาฬ สกลนคร หนองคาย และอุดรธานี ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.นราธิวาส ปัตตานี และยะลา
เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของแม่น้ำกก แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเลย แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำบางนรา และแม่น้ำสุไหงโก-ลก
เฝ้าระวังแหล่งน้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) 10 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำกิ่วลม และกิ่วคอหมา จ.ลำปาง อ่างเก็บน้ำแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี อ่างเก็บน้ำน้ำพุง จ.สกลนคร อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
อ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี และอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จ.ระยอง รวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่า 80% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 18 ส.ค. 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 29/2565 ลงวันที่ 17 ส.ค. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 20 – 22 ส.ค. 2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของแม่น้ำกก แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเลย แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำบางนรา และแม่น้ำสุไหงโก-ลก และเฝ้าระวังแหล่งน้ำและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) 10 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา แควน้อยบำรุงแดน บึงบอระเพ็ด ป่าสักชลสิทธิ์ น้ำพุง อุบลรัตน์ บางพระ และหนองปลาไหล รวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่า 80% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ
2. สถานการณ์อุทกภัย
จากสถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกําลังแรง บริเวณทะเลจีนใต้ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ทําให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ในระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2565 เกิดสถานการณ์ในพื้นที่ 13 จ. (เชียงราย ลําปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์พิจิตร ตาก นครสวรรค์มหาสารคาม ขอนแก่น ศรีสะเกษ ชัยภูมิปราจีนบุรีสระแก้ว) ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 8 จ. (จังหวัดพิษณุโลก ลำปาง พิจิตร สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ฉะเชิงเทรา และอุบลราชธานี ) ดังนี้
จังหวัดลำปาง เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องส่งผลให้มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่พริก อ.สบปราบ อ.เสริมงาม และ อ.เกาะคา ปัจจุบันระดับน้ำเริ่มลดลงคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายในวันพรุ่งนี้หากไม่มีฝนตกในพื้นที่
จังหวัดพิษณุโลก เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องส่งผลให้มีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.นครไทย อ.บ้านกลาง และ อ.วังทอง คาดว่า 1-2 วัน หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
จังหวัดพิจิตร มีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองพิจิตร อ.สากเหล็ก และ อ.วังทรายพูน คาดว่า 2-3 วัน หากไม่มีฝนตกเพิ่มสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
จังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังนาข้าวสูงประมาณ 0.2-0.3 ม.บริเวณ อ.พนมสารคาม ปัจจุบันระดับน้ำในคลองระบายน้ำยังทรงตัว หากไม่มีปริมาณฝนตกหนักเพิ่มเติม คาดว่าระดับน้ำจะเริ่มลดระดับลง
จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.อู่ทอง อ.เมือง และอ.บางปลาม้า ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังการเกษตรลุ่มต่ำ คาดการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 7-14 วัน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง เกิดจากฝนตกในพื้นที่ ประกอบกับการระบายน้ำจากท้ายเขื่อนเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันมีพื้นที่น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำรวม 6 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล อ.บางปะหัน อ.เสนา อ.ผักไห่ และ อ.ท่าเรือ) และ จังหวัดอ่างทอง (อ.ป่าโมก) ปัจจุบัน กรมชลประทานได้ระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา 1,224 ลบ.ม/วินาที
จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่น้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อ.น้ำยืน และอ.นาจะหลวย ปัจจุบันสถานี M.170 อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี สูงกว่าตลิ่ง 0.31 ม. และมีแนวโน้มลดลง