สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 ส.ค. 65
มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.จันทบุรี (160) กรุงเทพมหานคร (144) และ จ.อุทัยธานี (138)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 48,965 ล้าน ลบ.ม. (60%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 42,657 ล้าน ลบ.ม. (60%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม ป่าสักฯ อุบลรัตน์ น้ำพุง หนองปลาไหล บางพระ และบึงบระเพ็ด
เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงบริเวณริมแม่น้ำโขง ตั้งแต่ จ.เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ที่อาจได้รับผลกระทบจากระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้นประมาณ 1.0 – 2.0 ม. อย่างฉับพลัน ในช่วงวันที่ 14 – 18 ส.ค. 65 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก – ดินถล่ม บริเวณ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน และน่าน
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ห่วงสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำป่าสัก – เจ้าพระยา เร่ง 13 มาตรการรับมือพร้อมช่วยเหลือประชาชน
วานนี้ (15 ส.ค. 65) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดสระบุรี เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ การเตรียมการรับมือ และให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
สทนช. กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และจังหวัดสระบุรี ดำเนินการตามแผนรับมือฤดูฝนทั้ง 13 มาตรการอย่างเคร่งครัด และดำเนินการตามแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ปี 2565 ที่ กนช.ได้เห็นชอบ
กรมโยธาธิการและผังเมือง พิจารณาก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำป่าสัก เพื่อลดผลกระทบจากการพังทลายของตลิ่งในช่วงน้ำหลาก
สทนช. ปภ. ทหาร ตำรวจ และจังหวัดสระบุรี สร้างการรับรู้และเข้าช่วยเหลือประชาชนทันที พร้อมบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็วที่สุด
สทนช. และกรมชลประทาน พิจารณาเร่งรัดการซ่อมแซมคันดิน 23 ขวาคลองชัยนาท-ป่าสัก พร้อมวางแผนปรับปรุงให้มั่นคง
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 16 ส.ค. 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงาน
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่จังหวัดสระบุรีพร้อมคณะ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ การเตรียมการรับมือ และให้ความช่วยเหลือประชาชน พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนรับมือฤดูฝนทั้ง 13 มาตรการอย่างเคร่งครัด และดำเนินการตามแผนป้องกัน และแก้ไขภาวะน้ำท่วม ปี 2565 รวมถึงเร่งสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนต่อไป
2. สถานการณ์อุทกภัย
สถานการณ์จาก พายุโซนร้อน “มู่หลาน” ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน บริเวณเมืองลางซอนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ภาคเหนือตอนบนของไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตอนบนทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 11 – 15 ส.ค. 65 มีพื้นที่เกิดสถานการณ์ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 27 จ. (เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา นครพนม เลย ระนอง และภูเก็ต) ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ 8 จ. (เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน พิจิตร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และสุพรรณบุรี) โดยรายละเอียดดังนี้
จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่น้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่จัน อ.เมืองฯ อ.เชียงแสน และ อ.แม่สาย บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 1,672 หลัง ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่อาย อ.ฝาง อ.แม่สาย ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
จังหวัดพะเยา มีพื้นที่น้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.เชียงคำ ปัจจุบันระดับน้ำลดลง หากไม่มีฝนตกเพิ่มเติมคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วัน
จังหวัดน่าน มีพื้นที่น้ำท่วม 7 อำเภอ ได้แก่ อ.ภูเพียง อ.เชียงกลาง อ.ปัว อ.บ่อเกลือ อ.เมืองฯ อ.เวียงสา และ อ.ท่าวังผา ปัจจุบันระดับน้ำลดลง แต่ยังคงเฝ้าระวังในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วัน
จังหวัดพิจิตร มีพื้นที่น้ำท่วม 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สากเหล็ก และอ.วังทรายพูน ทำให้น้ำเอ่อล้นลำคลองและไหลเข้าสู่พื้นที่การเกษตร และบ้านเรือนราษฎร คาดว่า 2-3 วัน หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่น้ำท่วม 3 อำเภอ ได้แก่ อ.อู่ทอง อ.เมือง และอ.บางปลาม้า ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังการเกษตรลุ่มต่ำ คาดการณ์ว่าไม่เกิน 7 – 14 วัน สถานการณ์จะคลี่คลาย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง เกิดจากฝนตกในพื้นที่ ประกอบกับการระบายน้ำจากท้ายเขื่อนเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันมีพื้นที่น้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรลุ่มต่ำรวม 6 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล อ.บางปะหัน อ.เสนา อ.ผักไห่ และ อ.ท่าเรือ) และ จังหวัดอ่างทอง (อ.ป่าโมก) ปัจจุบัน กรมชลประทานได้เพิ่มการระบายน้ำจากท้ายเขื่อนเจ้าพระยาตามปริมาณน้ำเหนือที่เพิ่มขึ้นปัจจุบัน (18.00 น.) เขื่อนเจ้าพระยาระบาย 1,380 ลบ.ม/วินาที