สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ส.ค. 65
มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.ตรัง (175) จ.มุกดาหาร (161) และ จ.ตราด (83)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 46,380 ล้าน ลบ.ม. (56%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,367 ล้าน ลบ.ม. (56%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา กิ่วลม อุบลรัตน์และน้ำพุง
พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วันนี้ บริเวณจ. แม่ฮ่องสอน ตาก เชียงใหม่ เชียงราย ชัยภูมิ กาญจนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และภูเก็ต
กอนช. ติดตามและคาดการณ์ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในช่วงวันที่ 4 – 10 ส.ค. 65 พบว่ามีอ่างเก็บน้ำที่มีแนวโน้มปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างฯ สูงสุด (Upper Rule Curve : URC) ดังนี้
อ่างฯ แม่งัดสมบูรณ์ชล ปริมาตรน้ำ 163 ล้าน ลบ.ม. (61% รนก.) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 175 ล้าน ลบ.ม. (66% รนก.)
อ่างฯ กิ่วลม ปริมาตรน้ำ 72 ล้าน ลบ.ม. (68% รนก.) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 79 ล้าน ลบ.ม. (75% รนก.)
อ่างฯ กิ่วคอหมา ปริมาตรน้ำ 135 ล้าน ลบ.ม. (79% รนก.) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 139 ล้าน ลบ.ม. (82% รนก.)
อ่างฯ น้ำพุง ปริมาตรน้ำ 67 ล้าน ลบ.ม. (41% รนก.) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 87 ล้าน ลบ.ม. (53% รนก.)
อ่างฯ อุบลรัตน์ ปริมาตรน้ำ 991 ล้าน ลบ.ม. (41% รนก.) และมีแนวโน้มทรงตัว
อ่างฯ ป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาตรน้ำ 380 ล้าน ลบ.ม. (40% รนก.) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 483 ล้าน ลบ.ม. (50% รนก.)
อ่างฯ หนองปลาไหล ปริมาตรน้ำ 136 ล้าน ลบ.ม. (83% รนก.) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 149 ล้าน ลบ.ม. (91% รนก.)
ทั้งนี้ กอนช. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้รับทราบและเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 4 ส.ค. 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
1.1 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 23/2565 ลงวันที่ 28 ก.ค. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติแจ้งเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง พบว่าระดับน้ำที่สถานีจิ่งหง สาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงวันที่ 27 – 28 ก.ค. 2565 เพิ่มขึ้น 1.25 เมตร ประกอบกับคาดการณ์จะมีฝนตกเพิ่มบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 31 ก.ค. – 8 ส.ค. 2565 ทั้งนี้ โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง พบจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
1.2 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 24/2565 ลงวันที่ 1 ส.ค. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติแจ้งเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 2 – 10 ส.ค. 2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของแม่น้ำกก วัง ยม น่าน แควน้อย ป่าสัก เจ้าพระยา เลย ชี มูล บางประกง และตราด และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 6 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา น้ำพุง อุบลรัตน์ และป่าสักชลสิทธิ์ รวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับ ฤดูฝน ปี 2565
กรมทรัพยากรน้ำ ตรวจสอบและบำรุงรักษาสถานีระบบตรวจวัดสภาพน้ำทางไกลอัตโนมัติในลุ่มน้ำชี และสถานี CCTV รวมจำนวน 18 สถานี ใน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดยโสธร
3. สถานการณ์อุทกภัย
สถานการณ์ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ในระหว่างวันที่ 2 – 3 ส.ค. 65 ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 4 จ. (แม่ฮ่องสอน ปทุมธานี ภูเก็ต พระนครศรีอยุธยา) ปัจจุบันสถานการณ์คงเหลือ 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีรายละเอียด ดังนี้
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากอิทธิพลของปริมาณน้ำในคลองโผงเผงที่รับมาจากม่น้ำเจ้าพระยา ไหลลงสู่แม่น้ำน้อยมีปริมาณมาก ทำให้มีน้ำล้นข้ามตลิ่งแม่น้ำน้อยในชวงที่ตลิ่งต่ำ ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมขัง รวม 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ และ อำเภอเสนา ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากเขื่อนเจ้าพระยาได้ลดการระบายน้ำลง เพราะปริมาณน้ำเหนือเริ่มลดลง คาดว่าจะคลี่คลายภายใน 1-3 วัน