สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ก.ค. 65
ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.สุราษฎร์ธานี (243) กรุงเทพมหานคร (137) และ จ.ชลบุรี (122)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 45,025 ล้าน ลบ.ม. (55%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,158 ล้าน ลบ.ม. (55%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ กิ่วคอหมา กิ่วลม และน้ำพุง
พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก- ดินถล่ม ในช่วง 1-2 วัน บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ชัยภูมิ และตราด
เดินหน้า 13 มาตรการรับมือฤดูฝน กรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งบูรณาการ – เสริมกำลังเรือกำจัดผักตบชวาทั่ว
ตามที่กรมโยธาธิการและผังเมือง (ยธ.) รับผิดชอบมาตรการที่ 6 ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา โดยดูแลรับผิดชอบแม่น้ำสายหลัก
2 สาย คือ แม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่ใต้เขื่อนแม่กลอง ผ่านจังหวัดราชบุรี และสมุทรสงคราม ลงสู่อ่าวไทย และแม่น้ำท่าจีน ตั้งแต่ใต้ประตูระบายน้ำโพธิ์พระยา ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร ลงสู่อ่าวไทย และได้สนับสนุนเรือกำจัดผักตบชวาและวัชพืช เข้าช่วยเสริมกำลังหน่วยงานอื่นในพื้นที่ต่าง ๆ
ผลการกำจัดผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ำเปิด แหล่งน้ำเชื่อมโยง และในแหล่งน้ำปิดสาธารณะทั่วประเทศของหน่วยงานหลัก ตั้งแต่เดือนต.ค. 2564 ถึงปัจจุบัน รวมทั้งในแหล่งน้ำที่ได้จากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) สำรวจได้จำนวน 1,909 จุด สามารถกำจัดผักตบชวาไปแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 5,775,179 ตัน โดย ยธ. กำจัดได้จำนวน 933,501 ตัน กรมชลประทาน จำนวน 3,396,468 ตัน กรมเจ้าท่า จำนวน 496,154 ตัน กรุงเทพมหานคร จำนวน 255,275 ตัน คณะทำงานระดับจังหวัด จำนวน 551,701 ตัน และกรมประมงจำนวน 142,080 ตัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2565)
ทั้งนี้ ในพื้นที่ใดประสบปัญหาผักตบชวาและวัชพืชสะสมเป็นจำนวนมาก ยธ. สามารถสนับสนุนเครื่องมือ และเรือกำจัดผักตบชวาและวัชพืช สามารถร่วมบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นได้เพื่อแก้ไขปัญหา ต่อไป