สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 ก.ค. 65
ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา จ.แพร่ (118 มม.) จ.กาญจนบุรี (90 มม.) และ จ.ตราด (84 มม.)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นส่วนแม่น้ำโขง มีแนวเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 44,011 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,29 8 ล้าน ลบ.ม. (54%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง)
พื้นที่แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำหลาก – ดินถล่ม บริเวณ จ.เชียงใหม่ น่าน ตาก พะเยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ และตรัง
กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำหลังประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ฉบับที่ 20/2565 เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ กำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ ดังนี้
จ.ขอนแก่น เกิดฝนตกหนักที่ อ.ชุมแพ ทำให้บริเวณถนนมะลิวัลย์ ช่วงหน้าโรงแรมชีวิน ถึง แยกชุมแพก่อสร้าง น้ำระบายไม่ทันท่วม
ผิวจราจร สูงประมาณ 40 ซม. การดำเนินการให้ความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ ปภ.เทศบาลเมืองชุมแพ ได้ อำนวยความสะดวกการจราจร
สูบน้ำระบายเข้าหนองอีเลิง ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
จ.เพชรบูรณ์ สถานการณ์น้ำแม่น้ำป่าสัก อ.หล่มสัก บริเวณสถานี S.3 เมื่อเวลา 06.00 น. ระดับน้ำอยู่ที่ 8.11 ม. (ร.ส.ม.) ยังต่ำกว่าตลิ่ง 0.2 ม. (ระดับตลิ่ง 8.30 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าตลิ่งในวันนี้ ขณะนี้เทศบาลเมืองหล่มสักได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ วางกระสอบทรายเป็นแนวคันกั้นน้ำตามจุดต่าง ๆ และคอยสังเกตสถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองหล่มสักอย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 14 ก.ค. 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
1.1 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 19/2565 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติแจ้งเฝ้าระวังน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 8 – 14 กรกฎาคม 2565 เฝ้าระวังน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณแม่น้ำสายหลักและสาขา ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก จันทบุรี และตราด และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 1 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
1.2 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 20/2565 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติแจ้งเฝ้าระวังน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 11 – 15 กรกฎาคม 2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยบริเวณภาคเหนือ ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ลำปาง แพร่ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่จังหวัดเลยหนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย สกลนคร ยโสธร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ นครราชสีมา และอุบลราชธานี ภาคใต้ ในพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และพังงา
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับ ฤดูฝน ปี 2565
กรมเจ้าท่า ปฏิบัติงานกำจัดผักตบชวา บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยดำเนินการกำจัดผักตบชวาได้จำนวน 134,388 ตัน (75.50%) ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาการเดินเรือ การสัญจรทางน้ำ การระบายน้ำ รวมถึงฟื้นฟูสภาพร่องน้ำ
3. สภาพอากาศ
การคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 14 ก.ค. 65 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
4. สถานการณ์อุทกภัย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานสถานการณ์อุทกภัย มีพื้นที่เกิดอุทกภัย 9 จ. (พิษณุโลก เพชรบูรณ์ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร จันทบุรี ระนอง) 17 อ. 21 ต. 37 ม. บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 30 หลัง มีผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 6 จ. (พิษณุโลก ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา จันทบุรี ระนอง) ระดับน้ำลดลง 2 จ. (บุรีรัมย์ มุกดาหาร) ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความช่วยเหลือแล้ว และต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ 1 จ. (เพชรบูรณ์) โดยขณะนี้เทศบาลเมืองหล่มสักได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ วางกระสอบทรายเป็นแนวคันกั้นน้ำตามจุดต่าง ๆ และคอยสังเกตสถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองหล่มสักอย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้แจ้งเตือนประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ