สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 ก.ค. 65

ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. 65 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.พิษณุโลก (125) จ.ชุมพร (89) และ จ.ลพบุรี (86)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 43,710 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,084 ล้าน ลบ.ม. (53%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ กิ่วคอหมา กิ่วลม และน้ำพุง
พื้นที่เกิดอุทกภัย ในช่วงวันที่ 9-10 ก.ค. 65 ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น (อ.เมือง) และ จ.จันทบุรี (อ.แก่งหางแมว) ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 20/2565 เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำ และขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงเพิ่มเติม ในช่วงวันที่ 11 – 15 ก.ค. 2565 ดังนี้
เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณ จังหวัดพะเยา ลำปาง แพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย สกลนคร ยโสธร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ นครราชสีมา อุบลราชธานี ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี พังงา
เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณ แม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขา แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ลำน้ำอูน ลำน้ำยาม และแม่น้ำตาปี
เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำน้ำพุง จังหวัดสกลนคร อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง
เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ที่มีปริมาตรน้ำมากกว่า 80% และมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ บริเวณ ภาคเหนือ (จังหวัดลำปาง น่าน และพะเยา) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดเลย สกลนคร ขอนแก่น นครราชสีมา นครพนม มุกดาหาร และอุบลราชธานี) ภาคตะวันออก (จังหวัดตราด) ภาคใต้ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 11 ก.ค. 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
1.1 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 19/2565 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติแจ้งเฝ้าระวังน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 8 – 14 กรกฎาคม 2565 เฝ้าระวังน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณแม่น้ำสายหลักและสาขา ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก จันทบุรี และตราด และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 1 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
1.2 ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 20/2565 ลงวันที่ 10 ก.ค. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติแจ้งเฝ้าระวังน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 11 – 15 ก.ค. 2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยบริเวณภาคเหนือ ในพื้นที่จังหวัดพะเยา ลำปาง แพร่ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่จังหวัดเลยหนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย สกลนคร ยโสธร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ นครราชสีมา และอุบลราชธานี ภาคใต้ ในพื้นที่จังหวัดระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี และพังงา
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับ ฤดูฝน ปี 2565
กรมเจ้าท่า ดำเนินการกำจัดผักตบชวาและวัชพืช แม่น้ำน้อย แม่น้ำเจ้าพระยา และคลองสาขา ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อแก้ไขปัญหาการเดินเรือและฟื้นฟูสภาพร่องน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำต่อไป
3. สภาพอากาศ
การคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 11 – 15 ก.ค. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก
และภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
4. สถานการณ์น้ำท่า
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยถึงปกติ โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนภาคตะวันตก และภาคกลาง มีแนวโน้มลดลง
5. สถานการณ์อุทกภัยปัจจุบัน
จังหวัดนครราชสีมา เกิดอุทกภัยในพื้นที่ ตำบลหนองบัวสะอาด ตำบลห้วยยาง อำเภอบัวยาง โดยกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา ได้ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือประชาชนแล้ว จังหวัดระนอง เกิดอุทกภัยในพื้นที่ ตำบลบางระเหนือ อำเภอระอุ่น โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับจังหวัดระนอง ได้ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือประชาชนแล้ว