สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 ก.ค. 65
ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.ปราจีนบุรี (147) จ.ชัยภูมิ (108) และ จ.ระนอง (106)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 43,688 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,067 ล้าน ลบ.ม. (53%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 2 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง) เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ กิ่วคอหมา กิ่วลม และน้ำพุง
พื้นที่แจ้งเตือนเฝ้าระวังน้ำหลาก – ดินถล่ม บริเวณ จังหวัดจังหวัดจ. น่าน ระยอง ตราด และพังงา
พลเอก ประวิตร เป็นประธาน Kick off โครงการพัฒนาและฟื้นฟูคลองพระพิมล จ.นนทบุรี-จ.นครปฐม
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เป็นประธานเปิดงานพิธีเปิดโครงการพัฒนาและฟื้นฟูคลองพระพิมล พร้อมทั้งเน้นย้ำเรื่องการพัฒนาปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแหล่งน้ำธรรมชาติ คูคลองต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสุงสุด ซึ่งคลองพระพิมลถือเป็นเส้นทางที่สำคัญในการบริหารจัดการน้ำที่เชื่อมโยงแม่น้ำสำคัญ คือ เจ้าพระยาและท่าจีน ช่วยเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงฤดูแล้ง ผลักดันน้ำเค็ม ระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก มีการจัดการคุณภาพน้ำ ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพ และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป ปัจจุบันคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาและอนุรักษ์คลองพระพิมล ภายใต้แผนงาน แผนพัฒนาและอนุรักษ์คลองพระพิมล จ.นนทบุรี – จ.นครปฐม ระยะทางรวม 31.5 กิโลเมตร
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ สทนช. เร่งบูรณาการตามแผนงาน/โครงการจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมการพัฒนาชุมชน กรมควบคุมมลพิษ องค์การจัดการน้ำเสีย กรมการท่องเที่ยว องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เพื่อให้การพัฒนาและฟื้นฟูคลองพระพิมลเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2565 ดังนี้
1. ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 19/2565 ลงวันที่ 7 ก.ค. 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติแจ้งเฝ้าระวังน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 8 – 14 ก.ค. 2565 เฝ้าระวังน้ำหลาก น้ำท่วมขัง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณแม่น้ำสายหลัก และสาขา ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก จันทบุรี และตราด และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 1 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการรองรับ ฤดูฝน ปี 2565
กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ บริเวณพื้นที่ ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำต่อไป
3. สภาพอากาศ
การคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 10 – 15 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 10 – 14 ก.ค. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นโดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้
4. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 43,688 ล้าน ลบ.ม. (53%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำ 38,067 ล้าน ลบ.ม. (53%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำ 3,151 ล้าน ลบ.ม. (57%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำ 2,470 ล้าน ลบ.ม. (49%) โดยมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve) ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแม่จาง และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด (Upper Rule Curve) ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนกิ่วคอหมา และเขื่อนน้ำพุง
5. สถานการณ์น้ำท่า
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยถึงปกติ โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนภาคตะวันตก และภาคใต้ มีแนวโน้มลดลง
6. การเตรียมความพร้อมและการให้ความช่วยเหลือ
กองบัญชาการกองทัพไทย ดำเนินการสำรวจสภาพพื้นที่ และวางแผนดำเนินการย้ายอาคารเรียน ที่ชำรุดเสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัยน้ำป่าไหลหลาก เพื่อดำเนินการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยเฮี๊ยะ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน