สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 มิ.ย. 65

ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.พิจิตร (72 มม.) จ.นครศรีธรรมราช (70 มม.) และจ.พิษณุโลก (67 มม.)
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง มีแนวโน้มลดลง
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 44,377 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,699 ล้าน ลบ.ม. (54%) เฝ้าระวังน้ำน้อย บริเวณภาคเหนือ (2 แห่ง)
กอนช. ติตตาม การประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำ
สทนช. ได้จัดประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำชี ครั้งที่ 2/2565 ณ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น โดยมีนายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเป็นประธาน พร้อมด้วย นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รักษาการที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ นายเทิดพงศ์ ไทยอุดม ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 3 และกรรมการลุ่มน้ำชี รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำชีได้รับทราบ 1. เป้าหมายการขับเคลื่อนโครงการสำคัญในปี พ.ศ. 2565-2567 ลุ่มน้ำชี 2. 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 และแผนการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน 3. การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะกรรมการลุ่มน้ำชีได้พิจารณาให้ข้อคิดเห็นต่อ ร่างผังน้ำลุ่มน้ำชี และการจัดทำแผนป้องกันภาวะน้ำแล้ง/แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมลุ่มน้ำชี เพื่อให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
สทนช. ได้จัดประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ครั้งที่ 2/2565 ณ โรงแรมรัตนชล จังหวัดชลบุรี โดยนายไพฑูรย์ เก่งการช่าง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 และกรรมการลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกได้ทราบ 1. 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 และแผนการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน 2. เป้าหมายการขับเคลื่อนโครงการสำคัญในปี พ.ศ. 2565-2567 ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก 3. สถานการณ์น้ำและแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก 4. การบริหารจัดการน้ำในเส้นท่อส่งน้ำที่อยู่ระหว่างดำเนินการของกรมธนารักษ์
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 1. การใช้ (ร่าง)แผนฯปี 2563 รวมกับ 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี2565 แผนของหน่วยงานภายใต้ 13 มาตรการฯ เป็นแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ปี 2565 เพื่อเสนอ กนช. เห็นชอบใช้ไปพลางก่อน 2. ตั้งคณะทำงานพิจารณาศึกษาทบทวนแผนป้องกันภาวะน้ำแล้ง/แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม