กรมศุลฯชี้ส่งล่วงหน้าใบขนฯลดเวลาตรวจปล่อยสูง
กรมศุลกากร เผยผลการศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจปล่อยสินค้า (Time Release Study :TRS) ระบุหากผู้นำเข้าและส่งออกยึดตามพิธีการศุลกากร โดยส่งใบขนส่งสินค้าล่วงหน้า สามารถลดระยะเวลาดำเนินการสูงสุดถึงมาก 1 วัน 18 ชม. 57 นาที ต่ำสุดก็ 5 ชม.เศษ
รายงานข่าวจากกรมศุลกากรแจ้งว่า กรมฯได้จัดทำโครงการการศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจปล่อยสินค้า (Time Release Study :TRS) ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งขององค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) ในการวัดประสิทธิภาพของแต่ละขั้นตอนในกระบวนการนำเข้าหรือส่งออก โดยในที่ประชุมคณะคณะกรรมการที่ปรึกษาร่วมด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าของอาเซียน (ASEAN Trade Facilitation Joint Consultative Committeee: ATF-JCC) ครั้งที่ 10 เมื่อเดือน ม.ค.61 มอบหมายให้กรมศุลกากรได้ทำการศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจปล่อยสินค้า (Time Release Study: TRS) และส่งมอบผลการศึกษาให้สถาบันวิจัยอาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia : ERIA) เพื่อจัดทำรายงานการศึกษาต้นทุนทางธุรกรรมต่อไป รวมถึงนำเสนอผลการวัดระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจปล่อยสินค้าต่อบุคคลภายนอก
โดยมีการรายงานการศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจปล่อยสินค้าตามแนวทางของ WCO ที่ต้องศึกษาระยะเวลาที่ใช้การตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าและขาออกทางทะเล และทางอากาศ ดังนี้ 1.ทำการศึกษา ณ ท่าเทียบเรือ C1, C2, A3 และ B5 สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง และ 2. ทำการศึกษา ณ คลังสินค้า บมจ.การบินไทย(คลังสินค้า TG) และ คลังสินค้าบริษัท ดับบลิวเอฟเอส พีจี คาร์โก้ จำกัด (คลังสินค้า BFS) สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
รวมถึงให้มีการจัดเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 7 วันต่อเนื่อง (เวลา 8.30 – 16.30 น.) โดยได้จัดเก็บข้อมูล ณ สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระหว่างวันที่ 8 – 14 ต.ค.61 และทำการจัดเก็บข้อมูล ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ระหว่างวันที่ 29 ต.ค. – 4 พ.ค.61 ล่าสุด กรมศุลกากรระบุผลการศึกษาโดยจำแนกดังนี้ (ดูตาราง 4 ประกอบ ทั้ง 4 ภาพ)
1.พิธีการศุลการนำเข้า :
(1.1) การศึกษากรณีปฏิบัติพิธีการศุลกากรโดยส่งใบขนสินค้าล่วงหน้า (Pre-Arrival Processing) กับกรณีปฏิบัติพิธีการศุลกากรปกติ
จากตารางข้างต้น (ตารางศุลกากร 01 และศุลกากร 02) จะเห็นได้ว่าพิธีการศุลกากรนาเข้าสามารถแบ่งออกตามประเภทของใบขนสินค้าได้เป็น 2 ประเภท คือใบขนสินค้า Green Line และ Red Line ซึ่งในแต่ละประเภทจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือกรณีผู้นาของ เข้าส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าล่วงหน้า (Pre-Arrival) และกรณีพิธีการศุลกากรนาเข้าปกติ (ผู้นาของเข้าส่งข้อมูลใบ ขนสินค้าหลังจากสินค้ามาถึง) ซึ่งจากผลการศึกษาจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในกรณีที่ผู้นาของเข้าดาเนินการตาม กระบวนการ Pre – Arrival จะมีระยะเวลาตั้งแต่สินค้ามาถึงจนถึงรับสินค้าออกจากอารักขาศุลกากรน้อยกว่าการ ดาเนินการตามพิธีการศุลกากรนาเข้าแบบปกติ
(1.2) การศึกษากรณีปฏิบัติพิธีการศุลกากรปกติประจำปี 2561 เปรียบเทียบกับพิธีการศุลกากรปกติ ประจำปี 2560
จากตารางข้างต้น (ตารางศุลกากร 03) เมื่อนำผลการศึกษาในครั้งนี้มาเปรียบเทียบกับผลการศึกษาประจำปี 2560 จะพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ตั้งแต่สินค้ามาถึงจนถึงรับสินค้าออกจากอารักขาศุลกากรของผลการศึกษาในครั้งนี้ จะมีระยะเวลาที่น้อยกว่าระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ตั้งแต่สินค้ามาถึง จนถึงรับสินค้าออกจากอารักขาศุลกากรของผล การศึกษาประจำปี 2560 ในทุกประเภทของใบขนสินค้า ไม่ว่าจะเป็นใบขนสินค้า Green Line หรือ Red Line สืบเนื่องมาจากกรมศุลกากรได้ออกประกาศกรมศุลกากร ที่ 5/2561 เรื่อง กระบวนการทางศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง (Pre-Arrival Processing) ทำให้ตัวแทนเรือ/อากาศยานจะต้องส่งข้อมูลบัญชีสินค้าล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง เป็นผลให้ผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำเข้าได้ทันที เมื่อสินค้ามาถึง (ผลการศึกษาประจาปี 2560 ตัวแทนเรือ/อากาศยานสามารถส่งข้อมูลบัญชีสินค้าได้ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากสินค้ามาถึง)
2.พิธีการศุลกากรส่งออก :
จากตารางข้างต้น (ตารางศุลกากร 04) จะเห็นได้ว่าใบขนสินค้าประเภท Green Line จะมีระยะเวลาตั้งแต่สินค้ามาถึงจนถึงส่ง ของออก(รับบรรทุก) น้อยกว่าใบขนสินค้าประเภท Red Line เนื่องจาก ใบขนสินค้า Red Line จะมีขั้นตอนในการ ตรวจสินค้าก่อนการส่งของออก (รับบรรทุก) ทาให้ระยะเวลาเฉลี่ยของใบขนสินค้า Red Line มีค่ามากกว่าจาก ขั้นตอนที่เพิ่มขึ้น และเนื่องจากการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจปล่อยสินค้าขาออกเป็นครั้งแรกจึงยังไม่มีข้อมูลที่จะใช้ในการเปรียบเทียบ.