สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 พ.ค. 65
แม่น้ำสายหลัก น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนแม่น้ำโขง น้ำน้อยถึงปกติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 46,778 ล้าน ลบ.ม. (57%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,983 ล้าน ลบ.ม. (57%) เฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 4 แห่ง บริเวณภาคเหนือ (3 แห่ง) ภาคตะวันตก (1 แห่ง)
กอนช. ติตตามหน่วยงานดำเนินการเตรียมความพร้อมตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 ดังนี้
มาตรการที่ 3 ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำuในแหล่งน้ำขนาดใหญ่-กลาง และเขื่อนระบายน้ำ โดย สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 65
มาตรการที่ 6 ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา ดังนี้
กรมชลประทาน ร่วมกับจังหวัดลพบุรี ดำเนินการขุดลอกแม่น้ำ แม่น้ำบางขาม ต.มหาสอน อ.บ้านหมี่ ต.บางขาม อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ระยะทาง 10 กิโลเมตร พื้นที่รับประโยชน์ 40,000 ไร่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของแม่น้ำบางขามในช่วงฤดูน้ำหลาก รวมทั้งเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง
กรมเจ้าท่า ปฏิบัติงานขุดลอก เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำช่วงฤดูน้ำหลาก ดังนี้
แม่น้ำคำ ต.จันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย ระยะทาง 3,050 เมตร ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์ 339 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 17,800 ไร่
แม่น้ำปัว ต.แงง และุต.เจดีย์ชัย อ.ปัว จ.น่าน ระยะทาง 1,800 เมตร ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์ 550 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรประมาณ 1,300 ไร่
คลองลุงช่วง ต.บ้านใหม่สามัคคี อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ระยะทาง 1,650 เมตร
คลองบางม่วง (ร่องใน) ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ระยะทาง 1,300 เมตร
น้ำปูลากาปะและน้ำปูลาวาจิ อ.เมือง จ.นราธิวาส ระยะทางตามแผน 1,800 เมตร