‘รักษ์พงษ์’ ระดมทุน5พันล้านแจ้งเกิดวิสาหกิจเพื่อสังคม
“รักษ์พงษ์” ร่วม “บลจ.เรนเนสซานซ์” ปลุกพลังหมู่บ้าน ด้วยกองทุน 5,000 ล้านบาท พัฒนานวัตกรรมบล็อกเชนเชื่อมเครือข่ายหมู่บ้าน คืนชีวิต สร้างงาน สร้างรายได้ ให้ทุกบ้านทั่วไทย
นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ ประธานมูลนิธิรวมพัฒน์ และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้ลงนามความร่วมมือกับ บลจ.เรนเนสซานซ์ โดย Mr. David Gibson Moore ประธานกรรมการบริหาร และอดีตประธานกรรมการของธนาคาร Chase Manhattan และเป็นบริษัทผู้บริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund Manager) เพื่อจัดตั้ง “กองทุนส่วนบุคคลลงทุนในกองทุนร่วมส่วนทุนที่มีกองย่อยของธุรกิจพัฒนาบล็อกเชนเชื่อมเครือข่ายหมูบ้าน (Private Fund Feeder to Private Equity Fund for A Sector of Developing Village Network Blockchain)” เพื่อใช้เป็นกลไกในการรวบรวมและบริหารจัดการเงินลงทุนมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท จากผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ซึ่งมีความพร้อมและความสนใจในการพัฒนานวัตกรรมบล็อกเชนเชื่อมเครือข่ายหมู่บ้าน เพื่อเป็นการฟื้นเศรษฐกิจ คืนคุณภาพชีวิต สร้างงาน สร้างรายได้ให้ทุกบ้านทั่วไทย โดยเป็นการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและต่อยอด จากการนำอสังหาริมทรัพย์พร้อมใช้กว่า 4,000 ล้านบาท เพื่อสร้างบล็อกเชนเชื่อมชุมชนเมืองสู่หมู่บ้าน พร้อมต้นแบบการสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วย “ชุมชนคลองพลับพลาโมเดล” ซึ่งได้เปิดตัวไปแล้ว ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงความร่วมมือกับ ศอ.บต. ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนใต้ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน
นายรักษ์พงษ์กล่าวว่า “ความร่วมมือในวันนี้ถือเป็นการเดินตามแผนงานเข้าใกล้เป้าหมายอีกขั้น ในการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินที่จะนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนระหว่างเครือข่ายหมู่บ้านของประเทศไทยได้ เนื่องด้วยปัจจุบันสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจระดับฐานรากหรือระดับหมู่บ้านนั้นหายไปจากระบบ จนทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ของประเทศต้องพบกับความเดือนร้อนในการทำมาหากินและดำรงชีวิต เนื่องจากเม็ดเงินนั้นยังกระจกตัวอยู่กับเอกชนขนาดใหญ่ ซึ่งขณะนี้เอกชนขนาดใหญ่เองก็ไม่กล้าที่จะนำเม็ดเงินดังกล่าวมาลงทุน เนื่องจากกลัวความเสี่ยงและความไม่คุ้มค่าจากกำลังซื้อที่หดหายไปจากระบบ ในการนี้ทางมูลนิธิรวมพัฒน์ จึงได้ร่วมกับ บลจ.เรนเนสซานซ์ เพื่อจัดตั้ง “กองทุนส่วนบุคคลลงทุนในกองทุนร่วมส่วนทุนที่มีกองย่อยของธุรกิจพัฒนาบล็อกเชนเชื่อมเครือข่ายหมูบ้าน (Private Fund Feeder to Private Equity Fund for A Sector of Developing Village Network Blockchain)” เพื่อใช้เป็นกลไกในการรวบรวมและบริหารจัดการเงินลงทุนมูลค่าขั้นต้นกว่า 5,000 ล้านบาท จากบริษัท ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ และสถาบันชั้นนำ ที่มีความพร้อมและความสนใจในการพัฒนานวัตกรรมบล็อกเชนเชื่อมเครือข่ายหมู่บ้าน โดยกองทุน Private Equity ในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สิงคโปร์ มีเป้าหมายในการสร้างอัตราผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนได้เฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 18 ต่อปี อีกทั้งยังสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้หลังจาก 3 ปี (Lock Up Period) โดยผลตอบแทนดังกล่าวจะมาจากนโยบายการลงทุนในบริษัทเอกชนทั้งในไทยและ ASEAN จากหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งถูกแบ่งออกเป็นกองย่อยๆ (Sub Feeder) ได้แก่ Real Estate, Health Care รวมถึงบริษัทอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาบล็อกเชนที่มีศักยภาพในการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ทั้งในไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ชั้นนำที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นระบบเปิดเผยสาธารณะ (Disclosure System) เช่น สิงคโปร์ อังกฤษ ฮ่องกง ออสเตรเลีย และอเมริกา โดยที่บริษัทเอกชนดังกล่าวยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Privacy Company) ที่ได้รับอนุมัติจาก Private Regulator จากตลาดหลักทรัพย์เติบโต (Growth Market) นานาชาติในประเทศชั้นนำที่พัฒนาแล้ว หรือลงทุนในนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle) ที่จัดตั้งขึ้นโดยผู้จัดการกองทุนของ Private Equity Fund หรือลงทุนในทรัพย์สิน Private Equity อื่นๆ เช่น หน่วยกองทุน Private Equity ที่ซื้อขายในตลาดรอง (Secondary Market) หรือลงทุนใน Private Equity Fund โดยทั้งนี้การลงทุนส่วนหนึ่งจะเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มมูลค่าเงินทุน พัฒนา Tokenomic และสร้างระบบนิเวศน์ของนวัตกรรมบล็อกเชนเชื่อมเครือข่ายหมู่บ้าน ให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและฟื้นเศรษฐกิจ คืนคุณภาพชีวิต สร้างงาน สร้างรายได้ให้ทุกบ้าน ปลุกพลังหมู่บ้านให้เกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศไทยต่อไป
ทั้งนี้ Mr. David Gibson Moore ประธานกรรมการบริหาร บลจ.เรนเนสซานซ์ กล่าวเสริมว่า “ทั้งนี้กองทุนร่าวส่วนทุน (Private Equity Fund) ที่จัดตั้งในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สิงคโปร์ ก็จะมีความร่วมมือกับ บริษัท วินตัน แอสโซซิเอส จำกัด (Winton Associates Ltd., UK Co Advisor) จากประเทศอังกฤษ โดยมี ดร.วรวุฒิ คงศิลป์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารร่วมอาวุโส (Senior Partner) ร่วมกับ Private Regulator ได้แก่ UK-Nominated Advisor, or NOMAD, Singapore Sponsor etc. ในตลาดเติบโต (Growth Market) ที่จะเป็นผู้สนับสนุนและอนุมัติ (Private Regulator) บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (International Stock Exchange) ได้แก่ Alternative Investment Market (AIM) ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (London Stock Exchange) ประเทศอังกฤษ Catalist ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (Singapore Exchange) ฯลฯ ที่มีระยะเวลาเฉลี่ยการ IPO ที่เร็วที่สุดในโลกประมาณ 4-9 เดือน ประกอบด้วยกองทุน Private Equity Fund มีนโยบายการลงทุนบริษัทที่ทำธุรกิจใน ASEAN รวมทั้งประเทศไทยและอยู่ระหว่างเตรียมจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์นานาชาติประเทศที่พัฒนาแล้วในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งถูกแบ่งเป็นกองย่อยๆ (Sub Feeder) ได้แก่ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การแพทย์ รวมถึงบริษัทอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาบล็อกเชน ตัวอย่างของบริษัทจากประเทศไทยที่มีการจัดตั้งบริษัทแม่ Holding ในต่างประเทศเพื่อการ IPO และได้รับอนุมัติจาก Private Regulator ดังกล่าว พร้อมสำหรับการลงทุน PRE IPO ของ Private Equity Fundเช่น บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท ฟายโฮมดีเวล และบริษัท มายโฮม ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด โดย นายมลฑล ณ นคร กรรมการผู้จัดการ”