รายงานสถานการณ์น้ำ วันที่ 4 มี.ค.65
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 4 มีนาคม 2565 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 9 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2564/65
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนรถบรรทุกเครื่องสูบส่งระยะไกล ดำเนินการสูบน้ำจากลำห้วยเสียว ส่งไปกักเก็บยังหนองน้ำสาธารณะส่วนรวม บ้านโคกลี่-บ้านโคกสำราญ ได้ปริมาณน้ำ 3,330 ลบ.ม/วัน เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้งของประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ประชาชนได้รับประโยชน์จำนวน 2 หมู่บ้าน 190 ครัวเรือน 880 คน โดยระยะเวลาดำเนินการ 28 ก.พ. – 16 มี.ค. 65
2. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
2.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 30,581 ล้าน ลบ.ม. (55%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่
38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 24,382 ล้าน ลบ.ม. (51%) ขนาดกลาง 355 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,555 ล้าน ลบ.ม. (70%) และขนาดเล็ก 139,894 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,645 ล้าน ลบ.ม. (52%) สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา แม่งัดสมบูรณ์ชล ภูมิพล และสิริกิติ์
2.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 5,369ล้าน ลบ.ม. (30%) โดยเขื่อนภูมิพล และสิริกิติ์ อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
3. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. 64 ถึงปัจจุบัน)
3.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 24,173
ล้าน ลบ.ม. (51%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 16,678 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 10,122 ล้าน ลบ.ม. (61%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 4,700 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,397
ล้าน ลบ.ม. (72%)
4. ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
การติดตามการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งมี ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกมากกว่าแผน จำนวน 44 จังหวัด ดังนี้
– ภาคเหนือ 15 จังหวัด ได้แก่ จ.กำแพงเพชร (+224%) แม่ฮ่องสอน (+181%) พิจิตร (+155%) สุโขทัย (+139%) เชียงใหม่ (+132%) เพชรบูรณ์ (+105%) อุทัยธานี (+95%) ตาก (+85%) ลำพูน (+80%) นครสวรรค์
(+78%) อุตรดิตถ์ (+74%) ลำปาง (+34%) แพร่ (+26%) พะเยา (+19%) จ.เชียงราย (+4%) และ พิษณุโลก (+2%)
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 จังหวัด ได้แก่ จ.สกลนคร (+177%) สุรินทร์ (+128%) มหาสารคาม
(+76%) บุรีรัมย์ (+74%) หนองบัวลำภู (+70%) หนองคาย (+58%) นครราชสีมา (+49%) กาฬสินธุ์ (+38%) ยโสธร (+33%) นครพนม (+29%) อุบลราชธานี (+1%) และ จ.อุดรธานี (+1%)
– ภาคกลาง 10 จังหวัด ได้แก่ จ.อ่างทอง (+280%) สระบุรี (+255%) สิงห์บุรี (+204%) ลพบุรี (+113%) ชัยนาท (+79%) กรุงเทพมหานคร (+36%) สุพรรณบุรี (+31%) สมุทรสาคร (+26%) พระนครศรีอยุธยา (+3%) และ จ.ปทุมธานี (+2%)
– ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ตราด (+2,131%) ฉะเชิงเทรา (+14%) ชลบุรี (+7%) ปราจีนบุรี (+5%) และ จ.สระแก้ว (+4%)