เตือนภัยน้ำท่วม”ชี-มูล”
ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๕/๒๕๖๔ เรื่อง เฝ้าระวังสถานการณ์แม่น้ำชี – มูล
จากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง ประกอบกับมีหยอมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคกลาง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ส่งผลทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในช่วงที่ผ่านมา และคาดการณ์ว่าจะยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ในวันที่ ๒๕ – ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ประเมินปริมาณฝนที่ตกหนักสะสมในพื้นที่ลุ่มน้ำชี และสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบน พบว่าจะมีน้ำไหลลงมายังแม่น้ำชีตอนกลาง และลำน้ำสาขา ประกอบกับในช’วง ๑ – ๒ วันที่ผ่านมา ลุ่มน้ำมูล ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีปริมาณฝนตก สะสมประมาณ ๑๕๐ มิลลิเมตร ส่งผลให้
ระดับน้ำในแม่น้ำมูลเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์สถานการณ์น้ำใน แม่น้ำมูล ระดับน้ำบริเวณสถานีวัดน้ำ M.7 (บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย) อำเภอเมืองอุบลราชธานี เพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่องและอาจล้นตลิ่งได้และคาดการณ์ดับน้ำแม่น้ำชี แม่น้ำมูล และลำน้ำสาขา มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากปัจจุบันประมาณ ๐.๕๐ – ๑.๐๐ เมตร ในช่วงวันที่ ๒๖ กันยายน – ๒ ตุลาคม ๒๕๖๔ ดังนี้
๑. แม่น้ำชีและลำน้ำสาขา
๑.๑ จังหวัดชัยภูมิ ที่ลุ่มต่ำบริเวณริมสองฝั่ง แม่น้ำชี อำเภอบ้านเขว่า อำเภอจัตุรัส อำเภอ คอนสวรรค์และอำเภอเมือง ลำปะทาว อำเภอเมือง ลำคันฉู อำเภอบำเหน็จณรงค์และอำเภอจัตุรัส ลำน้ำพรม อำเภอเกษตรสมบูรณ์
๑.๒ จังหวัดขอนแก่น ที่ลุ่มต่ำบริเวณริมสองฝั่ง แม่น้ำชี อำเภอแวงน้อย อำเภอแวงใหญ่และอำเภอมัญจาคีรี ลำน้ำเชิญ อำเภอภูผาม่าน และอำเภอชุมแพ
๑.๓ จังหวัดร้อยเอ็ด ลำน้ำยัง อำเภอเสลภูมิ
๑.๔ จังหวัดยโสธร แม่น้ำชี อำเภอเมือง อำเภอมหาชนะชัย อำเภอคำวัง และอำเภอคำเขื่อนแก้ว
๒. แม่น้ำมูลและลำน้ำสาขา
จังหวัดอุบลราชธานี ที่ลุ่มต่ำบริเวณริมสองฝั่ง แม่น้ำมูล เมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีรวงศ์อำเภอดอนมดแดง อำเภอตาลสุม และอำเภอพิบูลมังสาหาร ลำเซบาย อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเขื่องใน และอำเภอเมือง ลำเซบก อำเภอตระการพืชผล อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอตาลสุม และอำเภอเหล่าเสือโก ลำโดมใหญ่ อำเภอทุ่งศรีอุดม อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอเดชอุดม อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
๑. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงและพื้นที่ที่ยังคง มีสถานการณ์น้ำท่วมขังอยู่ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ริมฝั่ง แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และลำน้ำสาขา ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเตรียมเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น
๒. ปรับแผนบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำ ให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ เพื่อรองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน ลดผลกระทบ ความรุนแรงของอุทกภัย ดังนี้
๒.๑ จัดจราจรน้ำแม่น้ำชีตอนบน โดยลดการระบายน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อเร่งระบายน้ำจากจังหวัดชัยภูมิ และเขื่อนชนบท จังหวัดขอนแก่น
๒.๒ กรณีหากเกิดน้ำหลากในพื้นที่ลุ่มน้ำยัง ให้จัดจราจรน้ำแม่น้ำชีตอนกลาง โดยเร่งระบายน้ำ จากเขื่อนยโสธร จังหวัดยโสธร และพิจารณาจัดจราจรน้ำในแม่น้ำชีตอนล่างและแม่น้ำมูล โดยแม่น้ำชีให้ปรับลด การระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธ์รวมไปถึงการชะลอน้ำในลำน้ำสาขา สำหรับแม่น้ำมูล ให้ชะลอน้ำที่เขื่อนหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ ให˚มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ด้านท้ายน้ำ เพื่อลดผลกระทบ ต่อพื้นที่ด้านท้ายน้ำ ลดการระบายน้ำเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งเร่งระบายน้ำแม่น้ำมูลตอนล่าง ให้ไหลลงแม่น้ำโขงให้รวดเร็วมากขึ้น พร้อมกับเฝ้าระวังปริมาณน้ำในแม่น้ำมูลที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ M.7 อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
๓. เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักร เครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทา ผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที และให้สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๔