Fitch คงเครดิตไทย BBB+ จับตา “ธรรมาภิบาล-การเมือง”
Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของไทย ที่ BBB+ พ่วงคงมุมมองความน่าเชื่อถือระดับมีเสถียรภาพ มองการคลังสาธารณแกร่ง แม้กู้หลายรอบ เหตุวินัยการคลังเยี่ยม ส่วนการเงินต่างประเทศก็เข้มแข็ง คาดจีดีพีปีหน้าโต 4.2% เพราะส่งออกพุ่ง มาตรการรัฐ และเปิดรับนักเที่ยวต่างชาติ เผย! ที่ถูกเกาะติด คือ ปมธรรมภิบาล รายได้เฉลี่ยต่อหัว และหนี้ครัวเรือนของไทย โดยเฉพาะความเสี่ยงทางการเมือง
1) ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) มีความแข็งแกร่งเป็นผลจากการบริหารจัดการทางการคลังอย่างรอบคอบและเป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อรักษาวินัยทางการคลัง แม้ว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นจากการกู้เงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินมาตรการทางการคลังเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการ และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า บริษัท Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) เมื่อวันที่18 มิ.ย.2564 อยู่ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดยมีรายละเอียดดังนี้
เช่น การจัดทำงบประมาณรายจ่ายขาดดุล การตรา พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท และ เมื่อวันที่18 มิ.ย.2564 ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท
แต่ Fitch เชื่อมั่นว่า รัฐบาลไทย สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีกลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่เข้มแข็ง ส่งผลให้หนี้สาธารณะของไทย ณ เม.ย. 2564 มีอายุเฉลี่ย (Average Time to Maturity: ATM) ค่อนข้างยาว คือ 9.5 ปี และ มีสัดส่วนหนี้สาธารณะสกุลเงินบาทมากกว่าร้อยละ 98 ซึ่งอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน (BBB peers) เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โปรตุเกส ฮังการี บัลกาเรีย รัสเซีย และคาซัคสถาน เป็นต้น ที่มีค่ากลางของหนี้สกุลท้องถิ่นอยู่ที่ร้อยละ 68.8
นอกจากนี้ Fitch คาดว่า สัดส่วนหนี้ภาครัฐบาล (General Government Debt) ต่อ GDP ของไทย ในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 52.7 ต่อ GDP จากการดำเนินนโยบายการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19และการมีกฎหมายการกู้เงินเพิ่มเติม ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่ากลางของกลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 59.4
อย่างไรก็ดี Fitch เชื่อมั่นว่า แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 จะเริ่มฟื้นตัวเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าและการเร่งรัดการเบิกจ่ายโครงการลงทุนของภาครัฐ อีกทั้ง คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2565 จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 เนื่องจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายนอกประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ทั้งนี้ เมื่อสถานการณ์การระบาดคลี่คลาย เศรษฐกิจฟื้นตัวและรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจะทำให้รัฐบาลจัดทำงบประมาณขาดดุลลดลง
2) ภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ที่ยังคงมีความเข้มแข็ง และส่งผลต่อการจัดอันดับความเชื่อถือของประเทศไทย โดยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลและทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง เพียงพอสำหรับใช้จ่ายถึง 10.8 เดือน ขณะที่ กลุ่มประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดียวกัน (Peers) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.3 เดือน
นอกจากนี้ คาดว่าในปี 2564 ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะยังคงเกินดุลที่ร้อยละ 0.5 ต่อ GDP และจะเกินดุลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากการเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนอย่างกว้างขวางให้ครอบคลุมประชากรกว่าร้อยละ 70 ตั้งแต่ต้น มิ.ย.2564 และแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบโดสแล้วจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำและปานกลาง ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข เข้ามาท่องเที่ยวในไทย โดยจะเริ่มจากจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่อง (Phuket Sandbox) ภายใน ต.ค. 2564
ส่วน ประเด็นที่ Fitch ให้ความสนใจและจะติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ธรรมาภิบาล รายได้เฉลี่ยต่อหัว หนี้ครัวเรือน และความเสี่ยงทางการเมือง รวมทั้งโครงสร้างประชากรสูงอายุที่จะส่งผลต่อการเติบโตของประเทศในระยะปานกลาง.