ทำไง? เมื่อสรรพากรส่ง จม.เตือนให้เสียภาษี
เมื่อคุณได้รับจดหมายเตือนจากสรรพากรในเรื่องที่เกี่ยวกับการเสียภาษีแล้ว ต้องทำอย่างไรบ้าง? ที่นี่…มีคำตอบ!
จดหมายเตือนคืออะไร?
หนังสือที่กรมสรรพากรส่งเพื่อเตือนให้ผู้ที่มีเงินได้จากการประกอบธุรกิจต่างๆ เช่น ขายของออนไลน์ให้บริการที่พัก ให้บริการที่ปรึกษา เป็นต้น ยื่นแบบแสดงรายการภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน
ได้รับ “จดหมายเตือน” แล้วงัย ต้องทำอย่างไร?
ติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ตามวันเวลาที่ระบุในจดหมายได้เลย สรรพากรมีทูตภาษี (Tax Ambassador) พร้อมดูแลและให้บริการ Tax Ambassador คือ เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรที่พร้อมดูแลและให้บริการคำปรึกษาด้านภาษี FAQ จดหมายเตือนจากสรรพากรให้เสียภาษี
Q : จดหมายเตือนคืออะไร?
A : จดหมายเตือนมีอีกชื่อหนึ่งว่า Notification Letter เป็นจดหมายที่แจ้งให้ผู้ประกอบการรู้ภาระหน้าที่ ทางภาษีของตน และยื่นแบบแสดงรายการภาษีให้ถูกต้องครบถ้วนสาระสำคัญในจดหมายเตือน จะระบุถึง
1. ข้อมูลแหล่งที่มาของเงินได้ เช่น มีเงินได้จากการประกอบธุรกิจออนไลน์, มีเงินได้จากการประกอบธุรกิจ
โรงแรม/ที่พักหรือมีเงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นต้น
2. ภาระหน้าที่ทางภาษี เช่น การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT),ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT),
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
3. หากต้องการคำแนะนำสามารถติดต่อทางเบอร์โทรศัพท์ของ Tax Ambassador ที่ระบุไว้ในจดหมาย
4. โทษของการไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลา จะระบุไว้ในจดหมาย ตรงหมายเหตุ
Q : จดหมายเตือนได้ข้อมูลจากไหน?
A : แหล่งที่มาของข้อมูลมี 2 แหล่ง ได้แก่
1. แหล่งข้อมูลภายนอก
2. แหล่งข้อมูลภายใน (ฐานข้อมูลภายในของกรมสรรพากร)
Q : ใครบ้างที่จะได้รับจดหมายเตือน?
A : แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ประกอบการที่มีเงินได้ในปีภาษี 2562 และปีภาษีก่อนหน้า และยังไม่มีการยื่นแบบแสดง
รายการในปีที่มีเงินได้
กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ประกอบการที่มีเงินได้ในปีภาษี 2563 และยังไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการในปีภาษี 2563
Q : ถ้าได้รับจดหมายเตือน แต่ปัจจุบันไม่มีรายได้แล้วต้องทำอย่างไร?
A : เงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษีใด ผู้ประกอบการก็ต้องนำมาคำนวณและยื่นแบบฯ สำหรับปีภาษีนั้น ถึงแม้ว่า
ในปัจจุบันไม่มีเงินได้จำนวนดังกล่าวแล้วก็ตาม เช่น มีเงินได้ในปีภาษี 2562 และท่านยังไม่ได้ยื่นแบบฯ
ภ.ง.ด.90 ในปีภาษี 2562 ขอให้ท่านไปยื่นแบบฯ ย้อนหลังสำหรับปีภาษี 2562 ให้ถูกต้องครบถ้วน
• Tax Ambassador คือ เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรที่พร้อมดูแลและให้บริการคำปรึกษาด้านภาษี.