คุยฟุุ้งเก็บแวต “e-Business”
กรมสรรพากร คุยฟุ้งเก็บภาษีแวตจากการค้าออนไลน์กับผู้ค้าเว็บไซต์ขนาดใหญ่ในต่างประเทศ เช่น การสินค้า จองห้องพัก บริการส่งสินค้า เรียกแท็กซี่ คาดจัดเก็บรายได้เพิ่ม 3,000 ล้านบาทต่อปี
นางแพตริเซีย มงคลวนิช รองอธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่าตามที่ มติประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 7% จากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ในต่างประเทศ เพื่อยกระดับการจัดเก็บภาษีให้เป็นธรรม เหมาะสมกับกิจกรรมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปใช้บริการผ่านแอ็บพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ เมื่อกฤษฎีกาตรวจร่างกฎหมายและแก้ไขเพิ่มเติมเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาได้ในเร็วๆนี้
สำหรับช่องทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของเอกชนในต่างประเทศ แบ่งออกได้ 2 ช่องทาง ประกอบด้วย 1. ผู้ให้บริการขนาดใหญ่ให้บริการแพลตฟอร์ม เช่น Google, facebook, apple,Line แอ็บพลิเคชั่น บริการสินค้าของตนเอง ทั้งจัดเก็บข้อมูล บริการจองห้องพักในการท่องเที่ยว บริการเรียกแท็กซี่ มอร์ไซต์ บริการดาวโหลดเกมส์ ดาวโหลดเพลง ข้อมูล ซื้อสติกเกอร์ และบริการอื่นๆ การจองห้องพักหรือบริการผ่านเว็นไซต์ดังค่ายใหญ่เติบโตสูงมาก ดังนั้นค่าบริการที่เรียกเก็บจากลูกค้าต้องแจ้งเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และ2.เอกชนเจ้าของสินค้าทุกแบรด์ ทุกประเภทวางขายผ่านเว็บไซต์ขนาดใหญ่ แต่เว็บไซต์ไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้า ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ขณะที่เจ้าของเว็บไซต์เก็บค่าเช่าพื้นที่จากเจ้าของสินค้าต้องเสียแวต จากค่าบริการแพลตฟอร์ม
“ยอมรับว่าพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ซื้อขายสินค้าและบริการส่วนใหญ่ จะนั่งดูภาพเพื่อสินค้าหรือบริการ ทั้งดาวโหลดเกมส์ สติกเกอร์ ล้วนแต่ซื้อผ่านออนไลน์และเติบโตขึ้นต่อเนื่อง จึงต้องการให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ในเวทีโลกทั้ง 85 ราย จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่งภาษีกับกรมสรรพากร เพราะผู้ประกอบการขนาดใหญ่เหล่านี้ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีธรรมาภิบาล คาดว่าจะมีรายได้จากเว็บไซต์ต่างชาติประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี”
นางแพตริเซีย กล่าวว่า ปัจจุบัน ผู้ประกอบการออนไลน์ในประเทศที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว จึงไม่เป็นห่วงเรื่องดังกล่าว แต่ต้องการเน้นจัดเก็บจากเอกชนรายใหญ่ต่างชาติให้เป็นไปตามหลักสากล เพราะขณะนี้ 50 ประเทศทั่วโลกจัดเก็บภาษีจากการค้าและบริการผ่านออนไลน์ เมื่อขายสินค้าและบริการมายังไทยควรเสียภาษีให้กับประเทศไทย ส่วนการสั่งซื้อสินเมื่อนำเข้าจากต่างประเทศส่งทางไปรษณีย์มายังไทยเฉลี่ยประมาณ 400,000 ชิ้นต่อวัน หากราคาไม่เกิน 1,500 บาทต่อช้ินได้รับยกเว้นภาษีมูลค้าเพิ่มแต่ต้องเสียภาษีนำเข้าตามพิกัดสินค้า นับว่าเติบโตสูงด้วยเช่นกัน กรมสรรพากรจึงต้องการศึกษาแนวทางจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากธุรกรรมออนไลน์เพิ่มเติมด้วย.