แบงก์พาณิชย์ กำไรลดลง 7.3%พิษโควิด-19

ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจบริษัทเอกชนระดมเงินซื้อหุ้นกู้ ได้เปลี่ยนมาใช้สินเชื่อของแบงค์พาณิชย์ กำไรของธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1/63 จึงโต 4.1% สวนทางเศรษฐกิจหดตัวธุรกิจ
ธนาคารพาณิชย์ปีนี้แย่กว่าทุกปี เพราะเจอทั้งเศรษฐกิจชะลอตัว โควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการและประชาชนมีความสามารถในการชำระหนี้น้อยลง กำไรลดและหนี้เสียเพิ่มสูงขึ้น

นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสี่ยงสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ไตรมาส 1 ปี 2563 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 52,900 ล้านบาท ลดลง 7.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากการระบาดของโควิด-19 และมาจากการกันสำรองเพิ่มขึ้น โดยระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 283,600 ล้านบาท หรืออัตราส่วนเงินกองทุนต่อ สินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ 18.7% ซึ่งอยู่ในระดับสูงสามารถรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้
ธุรกิจขนาดใหญ่กลับมาขอสินเชื่อแทนการออกหุ้นกู้ ด้านกำไรแบงก์ลดลง 7.3% เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 3.05 % พิษโควิด-19 กระทบเศรษฐกิจหดตัว ขณะที่ภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อไตรมาส 1 ปี 2563 ขยายตัวที่ 4.1% ซึ่งสวนทางกับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ติดลบ 1.8 % โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ขยายตัวที่ 5.3 % ตามความต้องการใช้สินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ในหลายประเภทธุรกิจที่ส่วนหนึ่งกลับมาใช้สินเชื่อแทนการระดมทุนผ่านตราสารหนี้ในภาวะที่ตลาดการเงินมีความผันผวน สวนทางกับสินเชื่อธุรกิจ SME หดตัวเล็กน้อยที่ 0.2 % สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัว 5.6 % ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ตามยอดซื้อที่อยู่อาศัยและรถยนต์ที่ลดลง ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตชะลอตัวลงมากตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่สินเชื่อส่วนบุคคลเติบโตได้ค่อนข้างสูงที่ 10.9 % โดยเฉพาะสินเชื่อรถแลกเงินที่คนมีความจำเป็นต้องกู้เงิน หรือหมุนเงินไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
โดย 5 อันดับธนาคารที่มีมูลค่าหนี้เสียสูงสุดในไตรมาส 1/2563 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2562 ได้แก่
1)ธนาคารกรุงไทย มีมูลค่า NPL รวม 112,377 ล้านบาท
2)ธนาคารกสิกรไทย มีมูลค่า NPL รวม 91,113 ล้านบาท
3)ธนาคารกรุงเทพ มีมูลค่า NPL รวม 85,240 ล้านบาท
4)ธนาคารไทยพาณิชย์ มีมูลค่า NPL รวม 83,613 ล้านบาท
5)ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีมูลค่า NPL รวม 47,560 ล้านบาท
ด้านคุณภาพสินเชื่อด้อยลงจากสิ้นปี 2562 จากผลกระทบทางเศรษฐกิจชะลอตัวและการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การจัดชั้นตามมาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS 9 โดยอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมที่ 3.05 % เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ 2.98 %
ต้องจับตาธนาคารพาณิชย์ สามารถรับมือกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ และยังคงยืนหยัดในการช่วยเหลือลูกค้าให้ผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปด้วยกัน