SCB โอกาสทางธุรกิจหลังโควิด-19ควรเตรียมตัวอย่างไร
วิกฤตไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง นำมาซึ่งผลกระทบอย่างรุนแรงไปทั่วโลก ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น ร่วมพูดคุย Facebook live SCB Thailand วิเคราะห์เจาะลึกโอกาสทางธุรกิจหลังโควิด-19ธุรกิจควรเตรียมตัวอย่างไร ลุยต่อ หรือ ชะลอเพื่อความมั่นใจ กับบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจระดับโลก
คุณอิษฎา หิรัญวิวัฒน์กุล Managing Director and Partner BCG (ประเทศไทย) จากการที่มีโคด-19และ Destructionแล้ว เราจะมีวิธีการรองรับอย่างไรเรื่องของการลดต้นทุนในบริษัทจะมีการลดอย่างไรเพื่อรองรับในการกลับมาในอนาคตในอนาคตNew normalจะเป็นอย่างไร
ในเรื่องของโคด-19เรามองถึง3สาเหตุใหญ่ใหญ่ Flatten ที่เป็นช่วงเศรษฐกิจถดถอยอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระยะต่อมาคือ Fight เป็นช่วงต่อสู้ เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนถึงในอนาคต หรือระยะ Future ที่ทุกอย่างจะกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งในระยะ Fight นี้เป็นช่วงที่อันตราย เป็นระยะกล้าๆ กลัวๆ เปรียบเสมือนการขับรถช่วงโพล้เพล้ ไม่รู้ว่าจะเดินหน้าอย่างไร จะเดินหน้าเต็มที่ก็ไม่แน่ใจ จะหยุดรอก็อาจเสียโอกาสให้คู่แข่ง ประเทศไทยขณะนี้อยู่ในช่วง Flatten ก่อนจะเข้าสู่ระยะ Fight
ในช่วงอันตรายพอเปิดรัฐบาลผ่อนคายล็อคดาวเปิดทุกอย่างแล้วธุรกิจร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าประชาชนคิดว่าผอรัฐบาลกลับมาเปิดให้ใช้ชีวิตได้ปกติแล้วทุกอย่างจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมแต่ความจริงไม่ใช่มันยังมีโอกาสติดเชื้อรอบสองได้เราย้อนกลับไปดูโรคระบาดในสมัยก่อนโรคระบาดที่เกิดขึ้นรอบสองส่วนใหญ่จะมีคนจะชีวิตมากกว่ารอบแรกด้วยซ้ำการเปิดธุรกิจในครั้งนี้ยังไว้วางใจไม่ได้ จะรู้ได้อย่างไรว่าช่วงไหนปลอดภัยเราดูเรื่องของ1)มียารักษาหรือไม่ 2) วัคซีนในการป้องกันโควิด-19 แต่ถ้าไม่มีทั้งสองสิ่งนี้อันนี้ผมว่าต้องรอเศรษฐกิจฟื้นตัวค่อนข้างนาน ข้อมูลล่าสุดเมื่อต้นพุทธสภาคมยารักษาเร็วที่สุดที่จะออกมาได้อีกประมาณ6เดือน
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ไตรมาส1และไตรมาส2ค่อนข้างรุนแรง การปิดเมืองตั้งแต่มีนาเมษาและพฤษภาคม ธุรกิจปิดนักท่องเที่ยวก็หายคนก็ตกงาน ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์มองว่าอาจจะหดตัว5 ถึง 6% การฟื้นตัวถ้าจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่สามได้ไปมากที่สี่เศรษฐกิจอาจจะกระเตื้องมากยิ่งขึ้นหลังจากมีรูปแบบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะไปในทิศทางไหน ของการกลับมาของภาคธุรกิจหลังจากนี้ต้องดูที่โครงสร้างของพฤติกรรมผู้บริโภคเพราะผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทำให้เกิด New normal
ในเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภค ในประเทศไทย
ผลสำรวจผู้บริโภคไทยในเดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่า สิ่งที่ผู้คนใช้จ่ายน้อยลง ได้แก่ การไปกินข้าวนอกบ้าน ไปดูหนัง การพักผ่อนหย่อนใจ แม้หลายคนคิดว่าหลังจากเปิดเมืองแล้ว ผู้คนจะกลับมาใช้จ่ายส่วนนี้เหมือนเดิม แต่ BCG ชี้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เปลี่ยนไปกลายเป็นพอใจกับการอยู่บ้าน กลายเป็นมีอุปสงค์ลดลงในอนาคต ในส่วนที่ผู้คนจะใช้จ่ายมากขึ้น ได้แก่ บริการส่งอาหาร Delivery โดยมีข้อมูลว่าในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ธุรกิจอาหารฟาสต์ฟู้ดบางแห่งมียอด Delivery เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 2.5 เท่า รองมาคือสินค้าดูแลสุขภาพ เพราะคนใส่ใจสุขภาพมากขึ้นและต้องการป้องกันการเจ็บป่วยจากไวรัสโควิด ซึ่งรวมไปถึงสินค้าวิตามินอาหารเสริม และประกันสุขภาพที่เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงและหาซื้อได้ง่ายมากขึ้น ทางร้านสะดวกซื้อ หรือแอปพลิเคชั่น
สุดท้ายด้วยความเสี่ยงหลายอย่างต่อภาคธุรกิจ คุณอิษฎามองว่า ถ้าตอนนี้ยังรอเพื่อจะทำธุรกิจและเดินหน้าต่อยอดผมมองว่าเสียโอกาส ในความเสี่ยงย่อมมีโอกาส การปรับตัวเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กร ผู้ประกอบการ คว้าโอกาสที่อยู่ท่ามกลางวิกฤตได้