EICมองประเทศไทยหลังโควิด-19 จะเป็นอย่างไร
ร่วมพูดคุย Facebook live SCB Thailand เริ่มต้นได้น่าสนใจกับประเด็นมองประเทศไทยหลังโควิด-19 ในประเทศไทยเองโดยเฉพาะเรื่องของออนไลน์โควิด-19เป็นตัวเร่งพฤติกรรมของคนไทยจะไม่เหมือนเดิมยิ่งระยะเวลานานขึ้นคนไทยยโอกาสใช้ออนไลน์ e-commerce มากยิ่งขึ้น ผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อภาคธุรกิจ ตลอดจนสิ่งที่จะกลายเป็น new normal ต่อไปวิกฤตครั้งนี้สาหัสและเราจะเตรียมรับมืออย่างไร
ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center (EIC) ทำไมวิกฤตโควิด-19ครั้งนี้ถึงส่งผลกระทบไปทั่วโลก ในวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลกปกติจะเกิดขึ้นทั่วโลกแต่วิกฤตในครั้งนี้ 208 ประเทศที่ติดไวรัสโควิด-19 ข่าวดีผมมองว่าผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเริ่มลดลงและเริ่มมีการผ่อนคลายล็อคดาวน์ประเทศ IMFประมาณการเศรษฐกิจโลก-3% รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ 90ปีที่แล้ว มาตรการของภาครัฐที่ผ่อนคลายเริ่มกลับมาให้ผู้ประกอบการกลับมาเปิดร้านค้าได้การที่ พี่น้องประชาชนจะกลับมาใช้จ่ายท่องเที่ยวเหมือนตอนก่อนเกิดโควิชหรือเปล่าผมมองว่าเกิดจากความเชื่อมั่นผมมองว่าถ้าเกิดมาตรการที่ติดตามชัดเจนสำหรับผู้ติดเชื้อจะทำให้ระบบเศรษฐกิจกลับมาเหมือนก่อนเกิดโควิด-19ได้
ในประเทศไทยก่อนที่จะเกิดโควิด-19 เศรษฐกิจไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวจากภาวะสงครามการค้าสหรัฐและจีนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมก็ติดลบอย่างต่อเนื่องการจ้างงานภาคอุตสากรรมและโรงงานอุตสากรรมเริ่มปลดคนมีผลก่อนที่จะเกิดโควิด-19 และภัยแล้งมีผลต่อผักเกษตรอย่างต่อเนื่องในเรื่องของงบประมาณของภาครัฐมีความล่าช้าในงบประมาณปี63ทำให้งบ การลงทุนต่างๆชะลอตัวลง
3สาเหตุหลักที่โควิด-19 กระทบประเทศไทย
1)ท่องเที่ยว
2)ส่งออกการ
3)ใช้จ่ายในประเทศ
ประเทศไทย เศรษฐกิจที่พึ่งพาเศรษฐกิจต่างประเทศค่อนข้างมากครึ่งหนึ่งของจีดีพีมาจากการส่งออกสินค้าขณะที่รายได้จากการท่องเที่ยวพึ่งพาอยู่ประมาณ 12% ของจีดีพี วันนี้ผมมองว่าการท่องเที่ยวติดลบอยู่ 100% เพราะรายได้จากการท่องเที่ยวหายไปทั้งหมด
อีไอซีประเมินว่าการท่องเที่ยวน่าจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆในช่วงเดือนธันวาคม ปี63การท่องเที่ยวในประเทศน่าจะกลับมาได้แค่ครึ่งเดียวของการท่องเที่ยวเดือนธันวาปี62 เรามองว่าการรักษายังไม่เด็ดขาด สิ่งที่เรามองเห็นคือเศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในภาวะทดถอย อีกนักท่องเที่ยวเองก็ลดลงทำให้การเดินทางเที่ยวต่างประเทศชะลอตัวลง ด้านการส่งออก ติดลบประมาณ 13% ของจีดีพีถือว่าค่อนข้างมาก ด้านสุดท้ายคือการแพร่กระจายของโลกในการใช้จ่ายในประเทศ จะมีสินค้าบางกลุ่มได้รับประโยชน์เช่นอาหารด้านสุขภาพหรือการสื่อสารแต่สินค้าส่วนใหญ่จะติดลบหลังจากนี้ที่มีมาตรการล็อคดาวน์ประเทศการท่องเที่ยวการเดินทางรวมถึงนันทนาการต่างๆเราคำนวณประมาณการหนึ่งเดือนจีดีพีของปีนี้จะหายไป 0.6% นี่คือผลกระทบของเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้
วันนี้ผมมองว่ายังมีข่าวดีเพราะภาครัฐเองออกมาตรการช่วยเหลือหลายมาตรการ ภาครัฐกระทรวงการคลังและทางแบงค์ชาติส่งสัญญาณพร้อมที่จะปรับมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และพร้อมที่จะออกมามาตรการเพิ่มเติมและเสริมตลอดเวลาเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ความสามารถของภาครัฐที่ระดมทุนและเข้ามาช่วยเหลือประชาชนหรือหนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากยังถือว่าอยู่ในระดับที่ดีดังนั้นโอกาสในการที่สามารถกู้เงินมาอัดฉีดดูแลประชาชนได้
ในมุมของตลาดแรงงานภายในประเทศไทยมีแรงงานอยู่ที่ 37.6 ล้านคน และแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 มี 10ล้านคนขึ้นไป
ตั้งแต่ 21 มีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบันจะเห็นว่าตำแหน่งงานหายไปประมาณ 35% งานพาทไทม์ถือว่าหายเกินครึ่งงานที่มีค่าจ้างและเงินเดือนต่ำจะหายเยอะมาก งานที่มีลักษณะทักษะน้อยถือว่าหายไปเยอะมากอย่างเช่นงานบริการการท่องเที่ยวการค้าปีกค้าส่งงานที่มีเงินเดือนค่อนข้างต่ำในส่วนที่งานที่มีเงินเดือนสูงถือว่ารถลงไปแต่ยังไม่เยอะมาก ในส่วนที่มีอัตราการจ้างงานสูงก็คือหน่วยงานของภาครัฐฐบาล การจ้างงานถือว่าเป็นการสะท้อนเศรษฐกิจภายในประเทศ
สุดท้ายต้องดูเรื่องการบริหารจัดการเงินเรื่องสภาพคล่อง ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น บริหารจัดการรายรับรายจ่ายและเก็บเงินให้มีประสิทธิภาพการลงทุนต้องชะลอลงไปบ้างแต่สุดท้ายแล้วการลงทุนก็ยังถือว่าเป็นการจำเป็น เพราะจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ