ธุรกิจพิชิตโควิด-19 ภายใต้การปรับกลยุทธ์ 4 CEO
บัญชี จุฬาฯ เสวนา Online สุดพิเศษ “จุฬาฯ ธุรกิจพิชิตโควิด-19”พายุใหญ่ที่พัดพาและทำลายล้างตอนนี้คือพายุเศรษฐกิจซึ่งประเทศไทยได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ในวันนี้ประเทศไทยเกิดวิกฤติพายุเศรษฐกิจวิกฤตโควิด-19
คณะบัญชี จุฬาฯ จัดเสวนา Online สุดพิเศษ “จุฬาฯ ธุรกิจพิชิตโควิด-19” เพื่อให้นักธุรกิจสามารถบริหารจัดการพิชิตวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยวิทยากรผู้บริหารระดับประเทศ
รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ มองว่าในมุมของธุรกิจตอนนี้ต้องบอกว่ารุนแรงกว่าโรคซา 5-6เท่า สภาอุตสากรรมประเทศไทยประเมินตัวเลข 4 แสนล้านบาทความเสียหายทางเศรษฐกิจผลกระทบจากโควิด-19 มีต่อสังคมทั่วประเทศ ตอนนี้ผมมองว่านักธุรกิจหรือผู้ประกอบการทุกท่านต้องมีปฏิภาณและไหวพริบถ้าเกิดวิกฤติมากขึ้นกว่านี้จะทำยังไงเพราะสถานการณ์ตอนนี้ของโควิด-19 เกิดขึ้นจะทำอย่างไร กลยุทธ์การตลาดในปัจจุบันอย่าทำอะไรเดิมๆ ห้ามเด็ดขาดต้องเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสให้ได้ ธุรกิจจะเติบโตได้มาจากรายได้ รายได้มาจากลูกค้า
อยากให้เจ้าของธุรกิจมองถึงพนักงาน พนักงานไม่ใช่สิ่งที่ตัดไปแล้วทำไมคุณกำไร ขึ้นแต่ถ้าคุณเก็บพนักงานไว้แล้วเปลี่ยนพนักงานให้ทำในส่วนที่เขาทำได้เพื่อเพิ่มรายได้ให้องค์กรผมมองว่าน่าจะทำให้ธุรกิจของคุณอยู่รอดในช่วงโควิด-19 พนักงานอ่านเองก็ต้องรวมตัวกันขึ้นมาแล้วสร้างรายได้ให้องค์กรเพื่อที่จะผู้ประกอบการและพนักงานจะผ่านปัญหาในครั้งนี้ได้ กลยุทธ์ที่ลึกกว่าเดิมและกว้างกว่าเดิมเพื่อรวมทั้งภาครัฐและภาคก็ชนเพื่อให้ประเทศผ่านวิกฤติในครั้งนี้ได้ วันนี้คุณตกใจกับโควิดมากเท่าไหร่คุณต้องมีกลยุทธ์ที่ให้ลูกค้าตกใจกับธุรกิจของคุณมากเท่านั้น
คุณนวลพรรณ ล่ำซำ CEO เมืองไทยประกันภัย มองว่า วันนี้คนกลัวขาดรายได้กลัวตกงานเพราะเราต้องมองอัตราการตายของโควิด-19 ทำให้สังคมจะบรรเทาเบาบางเรื่องนี้ยังไง หลายธุรกิจตอนนี้อาจจะทนมาตรการการล็อกดาวประเทศไม่ได้ ธุรกิจกำลังขาดรายได้และตายลงในที่สุดสิ่งที่สำคัญที่สุดของเรื่องนี้คือความไม่แน่นอนเพราะเราต้องรอวัคซีนในการทำให้โลกโควิด-19 หาย การแก้วิกฤติในหลายหลายประเทศไม่สามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้เลยเพราะแต่ละประเทศก็มีวิธีแตกต่างกันในส่วนขอประเทศไทยก็ต้องมีรูปแบบของตัวเอง ประเทศไทยมีทางออกหลายทางที่อาจจะแตกต่างจากประเทศอื่น ประเทศเรามีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. 1ล้านกว่าคนที่เรามองว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. อาจจะเป็นตัวขับเคลื่อนลงไปช่วยเพราะทำให้วิกฤตนี้ดีขึ้น
วันนี้บริษัทเมืองไทยประกันภัย ไม่ได้เอาพนักงานออกแต่เราไม่จ่ายโบนัสเพื่อประคับประคองให้บริษัทอยู่ได้ บริษัทประกันถือว่ากระทบรายได้จากการลงทุนสองความไม่แน่นอนในราคาหุ้น
จะถามว่าทำไมประกันโควิด-19 ถึงขายดีกล้องมองไปว่าประชาชนกังวลและกลัวติดโควิด-19และอยากรู้ว่าตัวเองป่วยแล้วจะมีเงินไปรักษาตัวไหมประกันสุขภาพโควิดจึงขายดีความไม่แน่นอนของโควิด-19 คือความไม่แน่นอนของธุรกิจในวันนี้
คุณขัตติยา อินทรวิชัย CEO KBank
มองว่าวิกฤติคราวนี้สามแบบ 1)กว้างกว่าเพราะไปต่างประเทศ2)ระยะเวลายาวกว่า3)โดนทุกระดับในสังคม หลังจากปัญหาทุกคนจะแกร่งขึ้นทุกคนจะเก่งขึ้นและจะแก้ปัญหาได้ดีมากขึ้น ถ้าเทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้งในปัจจุบันปัญหาผูกไว้กับอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเกิดการเก็งกำไรหุ้นมาตรการความช่วยเหลือจึงมาช้า ถ้าเทียบกับครั้งนี้อัตราแลกเปลี่ยนเราลอยตัวไม่มีการเก็งกำไรหุ้นมาตรการความช่วยเหลือของภาครัฐมาเยอะอย่างที่บอกหลังจากต้มยำกุ้งทุกคนเก่งและแกร่งขึ้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่มันไม่เหมือนคราวนั้นคือไม่ใช่แค่โควิด-19 อย่างเดียวย้อนกลับไปเดือนมกราคมเศรษฐกิจประเทศไทยเปราะบางพอสมควรมีภัยแล้ง และ เศรษฐกิจทดถอย ถ้ามองเป็นพีระมิดเหตุวิกฤติต้มยำกุ้ง อยู่ที่ด้านบนของพีระมิด แต่วันนี้วิกฤตโควิด-19 อยู่ที่ฐานรากของพีระมิด อย่างไรก็ตามเราเชื่อมั่นว่าเราจะไปด้วยกันและผ่านมันไปได้
ในฐานะผู้นำองค์กรธนาคารกสิกรไทย
1)กสิกรต้องผ่านวิกฤติไปให้ได้ทุกธนาคารยังอยู่ได้เพราะระบบเงินสำรองที่แต่ละธนาคารสำรองไว้ ในฐานะผู้นำองค์กรเราต้องสร้างความมั่นใจว่าองค์กรจะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้กลยุทธ์ที่เดินหน้ากับเป้าหมายที่ไม่เปลี่ยนแปลงพนักงานอาจจะต้องมีการรีสกิวหรืออัพสกิว
2)ที่เราเป็นธนาคารเราต้องดูแลลูกค้าให้ผ่านไปได้และระบบการเงินการธนาคารของประเทศให้ผ่านไปได้ด้วยเช่นกัน เอทีเอ็มทุกตู้ต้องมีเงินลูกค้าอยากกดต้องมีเงินออกมาจากตู้ทุกกรรมทางการเงินต้องใช้ให้ได้
3)สามในฐานะที่เป็นพลเมืองที่ดีเราทำอะไรได้ดีกว่านี้ไหม ในส่วนของลูกค้าเราจะมอบโอกาสกับลูกค้าธนาคารเราต้องตรงไปตรงมาในช่วงวิกฤติโควิด-19 เรามีมาตรการช่วยเหลือลูกค้ามากมายธนาคารต้องทำให้ได้เร็วและมากที่สุดสุดท้ายเราต้องตอบแทนสังคมเราเป็นองค์กรที่ใหญ่เรามีความพร้อมและความแข็งแกร่งเรื่องทุนและบุคลากรที่มีความสามารถเราสามารถช่วยเหลือสังคมได้อีกมาก
ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการและกรรมการบริหาร SENA Development มองว่า วันนี้เราต้องช่วยลูกค้าและลูกบ้านในโครงการ โควิด-19 คราวนี้กลายเป็นภาวะเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจที่เปราะบางอยู่แล้วแย่ลงไปอีกสิ่งที่เราเจอคือการทำงานได้ไม่ปกติ คนตกงานเพิ่มมากขึ้น ปัญหาของเราคือคนอาจจะอยากซื้อแต่ก็ไม่สามารถซื้อได้ด้วยหลายปัจจัยไม่ว่าระยะเวลาการผ่อนเองในช่วงนี้หรือแบงค์อาจจะยังไม่อยากปล่อยเงินกู้ ถ้ามองในนักเศรษฐศาสตร์ปกติเราสามารถมองได้ว่าจะแก้ยังไงแต่ในวิกฤตครั้งนี้เรามองยากมากเพราะตัวแปลเกิดขึ้นทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน เราน่าจะต้องเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ครั้งนี้ให้ได้ดีที่สุดที่เข้ามามีผลกระทบต่อชีวิตของเรา.