10 แบงค์พาณิชย์ กำไรพุ่ง-ลด ไตรมาส1 ปี 2563
หลังจากแบงค์พาณิชย์แถลงกำไรไตรมาส 1ปี 2563 จะสังเกตได้ว่าแบงค์พาณิชย์ขนาดเล็กและกลาง มีผลกำไรเพิ่มขึ้นมากกว่าแบงค์พาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งแบงค์ที่ทำกำไรมากที่สุดไตรมาส1/ 2563 คือธนาคารทีเอ็มบี163% จากการรวมกับธนาคารธนชาต
ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งกลับมีกำไรสุทธิ
โตน้อยลง และบางแห่งถึงขั้นขาดทุน ดังนั้นปีนี้ต้องฝ่าวิกฤตรายได้ไปพร้อมกับการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ผลประกอบการกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1/2563 รายงานกำไรสุทธิรวมกันจำนวน 45,536 ล้านบาท ลดลง 20.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักเป็นผลจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19
ธนาคารพาณิชย์ที่กำไรเพิ่มขึ้น
1)SCB กำไร 9,251 เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากรายได้รวมที่ขยายตัว 9% จากปีก่อน พร้อมกับที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลง
2) TMB กำไร 4,163 ล้านบาท เติบโต 163.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังบุ๊กรายได้ควบรวม TCAP
3) KKP กำไร 1,484 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น
4) CIMBT กำไร 1,079 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 144.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลขาดทุนเครดิตลดลง
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีนายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า การรวมกิจการกับธนาคารธนชาตนั้นได้ช่วยปลดข้อจำกัดด้านขนาดของทีเอ็มบีออกไป โดยปัจจุบันขนาดสินทรัพย์ เงินฝาก และสินเชื่อเติบโตขึ้นกว่า 2 เท่า ดังนั้น เป้าหมายในปี 2563 นี้ หลังการรวมกัน ธนาคารก็ได้เริ่มปรับโครงสร้างงบดุลใหม่ในทันที โดยในส่วนของเงินฝาก มีแผนการปรับโครงสร้างด้วยการปรับลดสัดส่วนเงินฝากประจำและแทนที่ด้วยเงินฝากที่เป็นผลิตภัณฑ์หลัก เช่น เงินฝาก All Free และเงินฝาก No Fixed ซึ่งในไตรมาส 1 ก็ทำได้ตามเป้าหมายและทำให้ยอดเงินฝากรวมอยู่ที่ 1.4 ล้านล้านบาท ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า
ธนาคารพาณิชย์ที่กำไรลดลง
1)BBL กำไร 7,671 ล้านบาท ลดลง 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีผลขาดทุนสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกาไรหรือขาดทุนซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาดเงินและตลาดทุนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)
2)BAY กำไร 7,033 ล้านบาท ลดลง 44.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากช่วงไตรมาส 1/2562 มีการรับรู้กำไรพิเศษ จากการขายหุ้น 50% ของบริษัท เงินติดล้อ จำกัด เป็นจำนวน 8,625 ล้านบาท
3)KBANK กำไร 6,581 ล้านบาท ลดลง 34.47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลกระทบไวรัสโควิด-19
4)TISCO กำไร 1,484 ล้านบาท ลดลง 14.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลกระทบไวรัสโควิด-19
5) LFHG กำไร 708.5 ล้านบาท ลดลง 187.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากการ Mark to Markeของเงินลงทุน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ (TFRS9)
6) KTB กำไร 6,082 ล้านบาท ลดลง 16.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลกระทบดอกเบี้ยต่ำ
ด้าน นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องไปทั่วโลกของ COVID-19 ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2563 ธนาคารมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร 6,082 ล้านบาท ลดลง 16.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลง แม้ว่าสินเชื่อเติบโต 1.9% จากสิ้นปี หรือ 4.7% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อการดำเนินธุรกิจและทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง รัฐบาล กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจและประชาชนในทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน