KBANKโครงการเถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ
โครงการเถ้าแก่ใจดีเจ้าหนี้มีใจ เครือโรงแรมใหญ่กะตะธานี และกะตะกรุ๊ป เป็นบทพิสูจน์ที่ทำให้เห็นว่าภาคเอกชนสามารถให้ความร่วมมือกับธนาคารที่จะประคับประคองธุรกิจและลูกจ้างให้อยู่รอดปลอดภัย
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ (Chairman Emeritus) ธนาคารกสิกรไทยมองว่าในที่สุดก็กลายเป็นวิกฤติครั้งใหญ่และกลายเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยการท่องเที่ยวถือเป็นหัวใจหลักรายได้ที่เข้ามาในประเทศถือว่าเป็นศูนย์
เมื่อรายได้ของธุรกิจใหม่เกิดขึ้น คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือคนที่อยู่ล่างสุดของระบบคือพนักงาน มีประมาณ 10ล้านคน ซึ่งผมมองว่ารัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือเป็นกลุ่มแรกๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารผู้ประกอบการและพนักงานเป็นหัวใจสำคัญเราจะแก้ไขปัญหาและภาวะโควิด-19นี้อย่างไรเราต้องมีวิธีการจัดการกับปัญหา เราจึงคิดโครงการเถ้าแก่ใจดีเจ้าหนี้มีใจขึ้นและแบ่งเป็น2ส่วน
1)เถ้าแก่ใจดีมีคุณธรรม คือ เถ้าแก่ยอมควักทุนจ่ายเงินให้พนักงานครึ่งหนึ่ง
2)ธนาคารยอมตัดกำไร คือ ธนาคารไม่เก็บหนี้กับลูกหนี้ของธนาคารในระยะเวลาที่กำหนด
การช่วยเหลือภายใต้โครงการดังกล่าว ธนาคารจะติดต่อลูกค้าผู้ประกอบการเพื่อเชิญเข้าร่วมโครงการ โดยมีรายละเอียดของมาตรการช่วยเหลือทางการเงินทั้งด้านธุรกิจและพนักงาน ดังนี้
มาตรการช่วยเหลือธุรกิจ มาตรการช่วยเหลือพนักงาน
วงเงินสินเชื่อเดิม
• ลดดอกเบี้ย ระยะเวลา 6 เดือน
• พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน
วงเงินสินเชื่อใหม่เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและดูแลพนักงาน
• สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ บัตรเครดิตกสิกรไทย และบัตรเงินด่วน
• ลดดอกเบี้ย 6% ถึงกันยายน 2563
• พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย ถึง ธันวาคม 2563
สินเชื่อเงินด่วน
• ลดดอกเบี้ย 6% ถึงกันยายน 2563
• พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน
สินเชื่อบ้าน
• พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน
สินเชื่อรถยนต์
• พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน
นายสมบัติ อติเศรษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร โรงแรมในเครือกะตะธานี มองว่าโครงการนี้เกิดขึ้นได้เพราะเราอยากช่วยลูกค้าและลูกจ้างของเราผ่านวิกฤตครั้งนี้ วิกฤตที่ค่อนข้างยากเพราะมันระบาดไปทั่วโลกไม่ใช่สินามิที่เราสามารถป้องกันและฟื้นฟูได้เร็ว ตอนนี้ผู้ประกอบการคาดหวังกับรัฐบาลว่าจะมีความช่วยเหลืออย่างไรแต่สถานการณ์ปัจจุบันต้องควักเงินทุนสำรองออกมาประคองธุรกิจ ในเครือกะตะธานีทั้งหมดเราเก็บพนักงานทุกคนไว้และเราไม่ลดเงินเดือนและสวัสดิการทุกอย่างของพนักงานยังคงอยู่
ณ วันนี้กะตะธานีเราพร้อมพนักงานทุกคนหรอกเราพร้อม แผนในการกู้ วิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้ผมมองว่ายาวและมองว่ากว่าจะฟื้นฟูได้ไม่ใช่สามเดือนต้องมองยาวไปถึง 18 เดือนแต่ถ้าเร็วกว่านั้นผมถือว่าโชคดีไป
วิกฤติครั้งนี้มันจะยาวนานแต่ไม่ใช่ว่าเรานั่งรอความช่วยเหลือจากภาครัฐและธนาคารอย่างเดียวเจ้าของธุรกิจก็ต้องหาวิธีการประคับประคองธุรกิจของตัวเองอนาคตการท่องเที่ยวจะมองว่าธุรกิจไหนที่มีคนเยอะเยอะถ้าไม่มีความปลอดภัยธุรกิจนั้นก็น่ากังวล ผมมองว่าจังหวัดภูเก็ตเรามีสหภาพเพียงพอในการรองรับนักท่องเที่ยวผมมองว่าปีหน้านักท่องเที่ยวจะเหลือประมาณ 7ล้าน คน เจ้าของธุรกิจต้องมีวิธีสร้างความเชื่อมั่นเพื่อที่ลูกค้าจะได้กลับเข้ามาอีกที่สำคัญเราต้องมองว่าอนาคตเราจะกลับมายังไงแล้วจะฟื้นตัวได้แบบไหน
ตรรกะธานีมี 3 เรื่องหลัก ที่จะเดินไปข้างหน้า
1)คือการพัฒนา
2)ปัญญา
3)สปิริท
นายประมุขพิสิฐ อัจฉริยะฉาย ประธานกรรมการบริหาร โรงแรมในเครือกะตะกรุ๊ป กล่าวว่าโรงแรมในเครือกะตะเราเปิดตั้งแต่ปี 2523 ถือว่าเป็นวิกฤติที่หนักที่สุดตั้งแต่กะตะได้เผชิญ ในเหตุการณ์ซึนามิที่เกิดขึ้นในตอนนั้นประเทศไทยฟื้นตัวเร็วมากเพราะได้รับความร่วมมือจากต่างชาติแต่ในครั้งนี้ผมมองว่ามันเป็นวิกฤตที่ใหญ่หลวงนักมันเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก
ในเครือกะตะของเราเราสูญเสียลูกค้าประจำที่อยู่ในแถบฝั่งยุโรปแทบทั้งหมดทำให้แทบไม่มีรายได้เข้ามาในเครือโรงแรมกะตะเลย
หลักของกะตะในการบริหารเราไม่ปล่อยให้ลูกน้องอยู่ข้างหลังเราจะไปด้วยกัน
โครงการเป็นเถ้าแก่ใจดีเจ้าสัวมีใจเริ่มต้นที่จังหวัดภูเก็ตก่อนแต่คุณมันพูดมองว่าทำพร้อมกันได้หมดทั่วทั้งประเทศ
1) ต้องกระทบจากวิกฤตโควิดที่เกิดขึ้นทันที
2)ส่วนตัวบริษัทหรือเถ้าแก่ต้องมีเงินสำรองในระดับหนึ่ง
3)ต้องกู้เงินกับธนาคารกสิกรไทย
4)หลังจากกู้เงินแล้วต้องสำรวจว่าเงินนั้นลงไปถึงพนักงานอย่างแท้จริง
สุดท้ายคุณบัณฑูรมองว่าในวิกฤตที่เป็นหายนะในครั้งนี้ ระหว่างทางผมมองว่ามันสำคัญที่สุดประคับประคองฐานรากให้มั่นคงคนที่มีมากต้องช่วยเหลือคนที่ไม่มี ในวิกฤติในครั้งนี้สิ่งที่จะช่วยผมมองว่าคือการให้ ให้เพื่อให้สังคมไปต่อได้ต้องมีความก้าวหน้าที่มากกว่าเดิมที่จะดึงความมั่งคั่งกลับมาได้ ระบบธนาคารแต่ระบบธนาคารในรอบนี้ได้ต้นทุนสำรองไว้เยอะพอสมควรโครงการ เถ้าใจดีในความเป็นจริงแล้วถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ มียังโครงการใหญ่ที่รัฐบาลกำลังจะทำอีกหลายโครงการ
ผมมองว่าธุรกิจต้องมองไปในภาคสังคมสิ่งที่ผมทำวันนี้ผมมองว่าเป็นปรากฏการณ์ ที่ธนาคารต้องตระหนักว่าสังคมต้องอยู่รอด ธนาคารจึงจะอยู่รอดได้.