BAYมอง GDP เหลือ 1.5จาก 3 ปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจปี 63
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มอง 3ปัจจัยฉุดรั้งการเติบโตเศรษฐกิจไทย ปี63เศรษฐกิจไทย ปัจจัยขับเคลื่นการเติบโตที่เหลืออยู่เร่ิมเลือนลางในช่วงปลายปี 2562ได้ประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยว่ามีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่จะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในปี2563
ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายยประจาปี2563และการฟื้นตัวภาคการทอ่งเที่ยวอย่างไรก็ตามปัจจยัทงั้สองได้กลับด้านจากปัจจัยสนับสนุนเป็น ปัจจัยที่บั่นทอนการเติบโตเนื่องจากการพิจารณาผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณเลื่อนออกไปยาวนานกว่าที่คาดขณะที่การระบาดของไวรัสสายพันธ์ุใหม่ COVID-19 ไมเ่พียงกระทบต่อการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านการหยุดชะงักของห่วงโซก่ารผลิตและ ผลกระทบต่อรายได้นอกจากนี้ปัญหาภัยแล้งได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ปัจจัยทั้งสาม อาจส่วผลกระทบเชิงลบตอ่ความเชื่อมนั่และ อัตราการเติยโตทางเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลงกว่าเดิม
ความล่าช้าของการผ่านร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 รัฐบาลคาดว่างบประมาณปี 2563 น่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ภายในสิน้ เดือนมีนาคม หรืออย่าง เร็วสุด ในกลางเดือนมีนาคม ความล่าช้าเกือบสองไตรมาสในการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 โดยเฉพาะงบลงทุนวิจัยกรุงศรีจึง ปรับลดมูลค่า การลงทุนของโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานลง1.51แสนล้านบาท
คิดเป็น 0.9%ของ GDP ความล่าช้าของการผ่านร่างงบประมาณไม่เพียงจะส่งผลกระทบต่อการเลื่อนการลงทุนของภาครัฐเท่านั้นแต่ยังมีผลเชิงลบต่อการลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผ้บูริโภคและภาคธุรกิจ ซึ่งอาจซ้ำเติมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซาอยแล้ว
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา
(COVID-19) การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มีผลกระทบของต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง โดยคาดว่าจะทาให้ การเติบโตของ GDP ไทย ต่ากว่าประมาณการเดิม 0.4% โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 เศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจากการหยดุ ชะงักของ ห่วงโซ่การผลิต การท่องเที่ยวซบเซาและผลกระทบต่อรายได้จากการศึกษาพบว่า ผลกระทบต่อ ภาคการท่องเที่ยวจะแตะระดับสงูสดุในไตรมาส1/2563 ในขณะที่ผลกระทบต่อการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิตจะสูงสุดในไตรมาส 2/2563 โดยคาดว่าการส่งออกจะลดลง 0.8% จากประมาณการเดิม การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะทาให้จานวนนักท่องเที่ยวลดลง 30.8% และ 13.1% ในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2563 ตามลำดับ โดยภาพรวม คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงต่อวัน4-5%ในปี2563
ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงกว่าคาดจะส่งผลกระทบต่อ GDP ในปีนี้ลดลงจากประมาณการเดิม 0.3% ปัญหาภัยแล้งมีแนวโน้มลากยาวถึง เดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำที่ลดลงจะส่งผล
กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมแล้ว ยัวกระทบการผลิต ในภาคอตุสาหกรรมและภาคธุรกิจ.