SCB EICลดประมาณการเศรษฐกิจไทยที่ 2.8%
![](https://aec10news.com/wp-content/uploads/2019/10/c76589851e7d93d584933172262e0d07_XL.jpg)
อีไอซีปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยของทั้งปี 2562 และ 2563 อยู่ที่ 2.8% จากสงครามการค้าที่ยืดเยื้อซึ่งส่งผลกระทบกระจายตัวจากภาคส่งออกและการท่องเที่ยวไปยังกำลังซื้อในประเทศชัดเจนมากขึ้น
ในส่วนของที่อยู่อาศัย หดตัวและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดน้อยลง แนวโน้มการใช้จ่ายลดลง อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐมีการลงทุนในโครงการใหญ่ๆ ปีหน้ามีเม็ดเงินเข้ามา การขยายตัวในปีหน้า8% ส่วนปีนี้อยู่ที่4% สาวนนโยบายการคลัง มีนโยบายเติบโตมากขึ้น
ด้าน ดร.ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2562 สาเหตุหลักจากสงครามการค้าที่ยังคงยืดเยื้อ รวมถึงผลกระทบสะสมของการตั้งกำแพงภาษีระหว่างจีนและสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา เริ่มส่งผลเป็นวงกว้างมากขึ้นในหลายประเทศ โดยผลกระทบในระยะหลังไม่ได้กระจุกตัวเพียงแค่การผลิตภาคอุตสาหกรรม การค้าระหว่างประเทศ และการลงทุน แต่เริ่มกระจายตัวทำให้ภาคบริการชะลอลงอีกด้วย นอกจากนั้น ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (technical recession) ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก เช่น เยอรมนี ฮ่องกง และ สิงคโปร์ ซึ่งจากการที่เศรษฐกิจชะลอตัวและความเสี่ยงด้านต่ำสูงขึ้น ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มกลับมาใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อประคับประคองการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงหลายประเทศที่มีความสามารถในการทำนโยบายการคลัง (fiscal policy space) ก็เริ่มมีการออกมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน ซึ่งจากปัจจัยข้างต้น
อีไอซีประเมินว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง และเมื่อรวมกับการแข็งค่าของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง ก็จะทำให้ภาคการส่งออกและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในรูปของเงินบาทได้รับผลกระทบ ดังนั้น อีไอซีจึงมีการปรับลดประมาณการอัตราขยายตัวของมูลค่าส่งออกเป็นหดตัวที่ -2.5% ขณะที่ภาคท่องเที่ยว แม้จะคงคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวที่ 40.1 ล้านคน แต่มีการปรับลดประมาณการค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวของนักท่องเที่ยวตามการแข็งค่าของเงินบาท ด้านอุปสงค์ในประเทศ สัญญาณการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะยอดขายที่อยู่อาศัยในภาคอสังหาริมทรัพย์และยอดขายรถยนต์ที่หดตัว ตามภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงสะท้อนจากการจ้างงานที่หดตัวโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม รายได้ภาคการท่องเที่ยวและภาคเกษตรที่ซบเซา และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดต่ำลง รวมทั้งความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินจากสัญญาณคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงและมาตรการกำกับดูแลการให้สินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ประกาศในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อีไอซีประเมินว่าจะมีผลช่วยพยุงการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนในช่วงที่เหลือของปี 2562 เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ความล่าช้าของการผ่าน พรบ. งบประมาณปี 2563 จะกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนภาครัฐในส่วนของโครงการใหม่
ในส่วนชิมช้อปใช้เรามองว่ามีผลกระตุ้นการใช้จ่าย ช่วยGDPประมาณ0.03%