ตลาดหุ้นป่วนหนัก ผวา “ทรัมป์”
![ตลาดหุ้นป่วนหนักผวา “ทรัมป์”](https://aec10news.com/wp-content/uploads/2025/02/IMG_4408-1024x768.jpeg)
ตลาดหุ้นไทยปิดลบต่อเป็นสัปดาห์ที่สามตามความกังวลต่อประเด็นสงครามการค้าและแรงขายหุ้นบิ๊กแคป แต่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนช่วงท้ายสัปดาห์
ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงแรงช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับทิศทางหุ้นต่างประเทศท่ามกลางความกังวลว่าสงครามการค้าจะทวีความรุนแรง หลังสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากแคนาดา เม็กซิโกและจีน ซึ่งมีผลวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมา (แม้ในเวลาต่อมาจะเลื่อนการเก็บภาษีแคนาดาและเม็กซิโกออกไป 30 วัน) และจีนก็ได้ออกมาตรการตอบโต้สหรัฐฯ ในเวลาต่อมาด้วยเช่นกันปัจจัยลบดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดแรงขายหุ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม
ดัชนีหุ้นไทยร่วงลงต่อเนื่องในระหว่างสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากแรงขายหุ้นบริษัทผู้ผลิตชิ้น
ส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่แห่งหนึ่ง หลังตลท. มีแนวคิดที่จะกำหนดให้หลักทรัพย์รายตัวที่เป็นองค์ประก
อบในดัชนี SET50, SET50FF, SET100 SET100FF มีน้ำหนักไม่เกิน 10% เพื่อลดอิทธิพลของหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ต่อดัชนี
นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายของตลาดหุ้นไทยในภาพรวมยังมี ปัจจัยกดดันจากการที่หุ้นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีกราย ใหญ่แห่งหนึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการซื้อกิจการคืน ประกอบกับน่าจะมีแรงขาย LTF ที่ครบกำหนดที่เข้ามาเป็นปัจจัยลบของตลาดด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดีดัชนีหุ้นไทยลดช่วงลบได้บางส่วนช่วงท้ายสัปดาห์หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 4 ปี 3 เดือนที่ 1,252.26 จุด โดยมีแรงหนุนจากหุ้นบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมและบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานจากประเด็นการจ่ายเงินปันผล รวมถึงแรงซื้อคืนหุ้นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ที่โดนเทขายอย่างหนักก่อนหน้านี้
ในวันศุกร์ที่ 7 ก.พ. 2568 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,282.09 จุด ลดลง 2.47% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน
ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 48,831.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.12% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 5.93% มาปิดที่ระดับ 262.44 จุด
สัปดาห์ถัดไป (10-14 ก.พ. 68) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,250 และ 1,235 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,300 และ 1,310 จุด ตามลำดับ
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ถ้อยแถลงของประธานเฟดและเจ้าหน้าที่เฟด
ผลประกอบการไตรมาส 4/2567 ของบจ.ไทย นโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ และทิศทางเงินทุนต่างชาติ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค. 2568 รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.ค. 2567 และตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/2567 ของยูโรโซนและอังกฤษ ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนม.ค. 2568 ของญี่ปุ่นตลอดจนยอดปล่อยกู้สกุลเงินหยวนเดือนม.ค. 2568 ของจีน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ตลาดหุ้นอ่อนแรง “ทรัมป์”