เงินบาทแข็งค่า หลังต่างชาติหวนคืน
เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของต่างชาติ และการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก
เงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ตามการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก และยังคงรักษาทิศทางแข็งค่าไว้ได้ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ เนื่องจากมีแรงหนุนเพิ่มเติมจากสถานะซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และการแข็งค่าขึ้นของเงินเยนซึ่งได้รับอานิสงส์จากการคาดการณ์ว่า อาจเห็นธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ทำการคุมเข้มนโยบายการเงินในการประชุมวันที่ 30-31 ก.ค. นี้
ขณะที่ Sentiment เงินดอลลาร์ฯ ตลอดทั้งสัปดาห์ถูกกดดันจากกระแสการคาดการณ์ว่า แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจคงนโยบายการเงินไว้ตามเดิมในการประชุมวันที่ 30-31 ก.ค. นี้
เงินบาทแข็งค่าขึ้นหุ้นไทยพลิกกลับมายืนเหนือ 1,300 จุดได้ช่วงปลายสัปดาห์ 22-26 ก.ค. 2567 แต่ก็มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม FOMC รอบถัดไปในเดือนก.ย.นี้
ในวันศุกร์ที่ 26 ก.ค. 2567 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ระดับ 36.05 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 36.28 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (19 ก.ค. 67)
สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 22-26 ก.ค. 2567 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทย 20,442 ล้านบาท และ 85.5 ล้านบาท ตามลำดับ
สัปดาห์ถัดไป (29 ก.ค.-2 ส.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ ระดับ 35.85-36.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุม FOMC (30-31 ก.ค.) BOJ (30-
31 ก.ค.) และ BOE (1 ส.ค.) ทิศทางเงินทุนต่างชาติรายงานเศรษฐกิจและการเงินเดือนมิ.ย. ของธปท.และประเด็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนมิ.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ข้อมูลจ้างงานภาคเอกชนดัชนี ISM และ PMI ภาคการผลิตตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนก.ค.
นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2/2567 ของยูโรโซน รวมถึงดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนก.ค. ของจีนด้วยเช่นกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : เงินบาทแข็ง ต่างชาติชะลอไหลเงินออก